7/30/2555

ตอนที่ 1 : การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง สอนโดย ผศ.ดร วิชิต อู่อ้น


ตอนที่ 1: 30 กรกฎาคม 2555. เวลา 22.30 น.โดย สุทธิกันต์ อุตสาห์
สวัสดีทุกท่าน ที่อ่านบทความฉบับนี้ เป็นบทความที่สร้างโดย นักศึกษาปริญญาเอก DBA.04 ม.ศรีปทุม ที่ท่านอาจารย์ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ท่านได้ฝึกให้ลูกศิษย์ ของท่าน มีความรู้ความเข้าในใจเรื่องการจัดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงและสามารถปรับใช้กับความรู้เดิมที่เคยเรียน มาในระดับปริญญาโท หากแต่การเรียนในครั้งนี้ ต้องการให้วิเคราะห์ ที่ประกอบด้วยทฤษฎี เพียงเพื่อให้งานออกมามีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเขียนบทความนี้เป็นบทความชิ้นแรก ลองมาอ่านกันดูครับ
 การเริ่มต้นวางแผนทางธุรกิจ
จาก เอกสารการเรียน รูปที่ 1 อธิบายได้ว่า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางกลยุทธ์ต่าง ๆ   มีถึงปัจจัยสำคัญอยู่ 8 ประการ ที่มีความหมายและลำดับขั้นและเป็นไปตามแนวทางที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน และสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตาม ของแต่ ลักษณะ    ทั้งนี้สามารถ อธิบายตามภาพประกอบดังนี้
 
Fig.1 : Source : (Haarris and Ogbonna,2006)
               กรอบความคิดที่ 1  Management Characteristics  ลักษณะทางด้านการบริหารจัดการ  ซึ่งจะมีแนวคิดหรือหลักการปฏิบัติประกอบด้วย  2 ปัจจัย คือ
              1. Long-term Orientation : หมายถึง การวางแผนทางด้านการบริหารจัดการของบริษัท ในระยะยาว หรือการกำหนดแผนงานและการจัดการเชิงกลยุทธ์ ควรจะมีทิศทางที่แน่นอนว่าจะดำเนินการหรือจัดการรูปแบบของบริษัทอย่างไร ทั้งในส่วนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เริ่มต้นจากมองสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว มีผลกระทบส่งผลต่อบริษัท  การนำกลยุทธ์       
 2. Perception of past Success : หมายถึง การนำเอาผลงานหรือผลสำเร็จของงานที่ผ่านมาแล้วมาพิจารณาและวิเคราะห์  เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพขอการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดหรือส่งผลไม่ดีต่อบริษัทซึ่งอาจจะส่งผลเกี่ยวกับผลกำไรของบริษัทได้ และเป็นมาตรการณ์เพื่อสร้างระบบการวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่

กรอบความคิดที่ 2 Firm Dynamics หมายถึง การขับเคลื่อนทางธุรกิจ หรือการเตรียมตัวตั้งรับของธุรกิจในรูปแบบต่าง แบ่งออกเป็น ลักษณะของธุรกิจ 4 ประเด็น คือ
 1) Competitor Orientation : การเข้ามาของคู่แข่งขันเป็น  บริษัทจะต้องวิเคราะห์ จุดอ่อน (w) และจุดแข็ง(s) ของบริษัท และใช้กลยุทธ์ที่สามารถแก้ปัญหาได้ อาทิเช่น  BCG ฯลฯ               
2) Cultural Entrenchment : การสร้างวัฒนธรรมขององค์กรและจิตสำนึกรักในการทำงาน  เพื่อให้มีเกิดการร่วมมือและมุ่งสร้างความเข้มแข็งของบริษัท
               3) Resource Richness : ความพร้อมและกำลังความสามารถในถือครองทรัพยากรของบริษัท เป็นเป็นจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของบริษัท  การจัดการสภาพคล่องทางการเงิน การบริหารจัดการเวลา เพื่อเสริมสร้างให้สอดคล้องกับแผนงานและสร้างผลการดำเนินงานและผลกำไรอย่างต่อเนื่อง 
                4) Anti-planning Political Behavior : การป้องกันนโยบายทางการเมือง ย่อมส่งผลต่อบริษัท อาจส่งผลให้แผนอาจหยุดชะงัก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท

       กรอบความคิดที่ 3 Environmental Factor : หมายถึง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมหรือบริบทต่าง ทั้งคู่แข่งขัน การเปิดทัศนคติมุมมองการเรียนรู้และยอมรับสิ่งใหม่ ประกอบด้วย  2 ปัจจัย คือ
1) Competitive Intensity : ความสามารถต่อคู่ธุรกิจในการแข่งขัน ด้านการวางแผนที่ต้องศึกษาข้อมูล แสวงหาโอกาสทางการแข่งขัน และการปรับตัวที่ดีกว่า เช่นผลิตภัณฑ์ การบริการ  เพื่อนำมาใช้จัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหนือคู่แข่งขัน
2) Industry-wide Mindset :  เปิดกว้างทางความคิดหรือเปิดรับสิ่งใหม่ อาทิเช่น ข้อมูลต่างๆเพื่อ เป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันและเกิด ประโยชน์กับบริษัท เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับบริษัทและนำมาซึ่งการปรับใช้หรือวาง แผนการจัดการเชิงกลยุทธ์
          

บทสรุป
 วางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ หรือวิธีการจัดการกับบุคลากร ยังมีอีกมากมายหลายๆกลยุทธ์ ซึ่งบ้างกลยุทธ์จะใช้ได้ผลกับบริษัท แต่อาจจะไม่ได้ผลกับอีกบริษัท  อยู่ที่ผู้บริหารจะเข้าใจดีเพียงใด แล้วพบกันใหม่นะครับ

                                                                                                                                              บ๊ะ ดอนเมือง