8/22/2555

ตอนที่ 4 22/08/2555 QSPM : กลยุทธ์การวางแผนงานแบบจับคู่เชิงปริมาณ Quantitative Strategie planning Matrix.s


ตอนที่ 4 22/08/2555 QSPM : กลยุทธ์การวางแผนงานแบบจับคู่เชิงปริมาณ Quantitative  Strategie  planning Matrix.s
สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับตอนที่ ๔ นี้จะเป็นการกล่าวหรือให้ข้อคิดเพื่อนำไปสู่วิธีการนำกลยุทธ์ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ ด้วย SWOT,SPACE,BCG,IE,GRAND ที่เหมาะสมกับกับองค์กรและนำมาประยุทธ์ใช้งานได้อย่างลงตัวแต่การที่จะเพิ่ม จุดแข็งหรือลดจุดอ่อน หาโอกาสขจัดอุปสรรค ต่างๆให้กับองค์กรอย่างไร จะต้องคำนึงถึงวิธีการนำไปจับคู่ กล่าวคือการวางแผนทางกลยุทธ์ไม่ว่าจะมาด้วยวิธีใด ก็ตาม ส่วนใหญ่ จะมีวิธีการลำดับต้นคือการนำเอาปัจจัยที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 2 ปัจจัยคือ  1.ปัจจัยภายนอก 2.ปัจจัยภายใน
จากเหตุทั้งสองปัจจัยดังกล่าว จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์ ในลักษณะ แบบ  “ลำดับขั้นแรกสู่ลำดับขั้นนำเข้า” (first stage to entering stage.) สุทธิกันต์:blog 2555” หมายถึงการที่นำ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ที่ผ่านการวิเคราะห์แบบ SWOT มาแล้วนำมาเพื่อจับตามกลยุทธ์ต่างๆที่เหมาะสมและเป็นกลยุทธ์ที่ผู้สั่งงานเองหรือผู้ปฎิบัติงานภายในองค์กรที่สามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนำภาพ FIG.5 Quantitative  Strategie  planning Matrix.s  Soure “ David,2003 มาประกอบการปฏิบัติ อธิบาย ได้ดังนี้
Rezaian,:2008 ได้ให้ความหมายของ  5 strategy Implementation หมายถึง การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation) หลังจากการกำหนดกลยุทธ์เรียบร้อยแล้วการปฏิบัติตามกลยุทธ์เป็นขั้นตอนต่อมา แต่โดยส่วนใหญ่ของการปฏิบัติตามกลยุทธ์มักทำแบบรายการกำหนดการปฏิบัติ การตามกลยุทธ์ และกลยุทธ์ที่ดีควรมีลักษณะคือ 
1.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อโครงสร้างองค์กรที่ดี 
2.กลยุทธ์ควรมีลักษณะของการประสานขององค์กรในระดับการบริหารระหว่างความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และกำลังการผลิต 
3.กลยุทธ์ควรมีลักษณะที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร 
4.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อความร่วมมือและความเห็นที่ตรงกันในหมู่ผู้บริหารและพนักงานในทุกภาคส่วนขององค์กร 
ที่มาของข้อมูล  (Rezaian, 2008)
Brock &Barry, 2003 มีความเห็นว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ จะขึ้นอยู่กับระบบการวางแผนการสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้จัดการหรือผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการในองค์กรต้องการความแปรผันของจำนวนและประเภทของสารสนเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ เพราะมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน
บทสรุป
การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือ อย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ เช่น องค์กรมีเป้าหมายและ พันธกิจอย่างไร  การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะช่วยให้องค์กรนั้นกำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ทางการแข่งขัน ในทุกด้านและเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่า ควรจะปฎิบัติตามกลยุทธ์ที่ผู้บริหารวางไว้เพื่อนำไปในทิศทางที่จะประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการวางแผนยุทธศาสตร์  หรือ  การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร  โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ
                    การกำหนดแนวทางที่จะบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องการให้เกิด  จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน  คือ  จะต้องคำนึงถึงสภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิดศักยภาพหรือขีดความสามารถขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง  และสิ่งแวดล้อม
บ๊ะ ดอนเมือง

8/17/2555

The five competitive forces that shape strategy.

ตอนที่ 3 The five competitive forces that shape strategy.
สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน บทความ ตอนที่ 3  จะกล่าวถึงเรื่องที่ นักศึกษาหรื่อผู้ที่เรียนทางด้านบริหารธุรกิจมา จะคุ้นเคยและนำมาใช้งานกันมากที่สุด แต่คนที่จะนำมาใช้เต็มรูปแบบและเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบความคิดหรือกำหนดให้ในองค์กรปฎิบัติตาม ส่วนใหญ่จะเรื่องของ The five  forces  strategy. ได้ไม่หมดเสียที่เดี่ยวจะมีกลยุทธ์อื่น มาเป็นปัจจัยเสริมในการนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา คราวนี้มาดูกันว่า The five competitive forces that shape strategy. จะมีขั้นตอนหรือหลักการอย่างไร
Five Force Model ของ Michale E.Porter (Porter, 1996)  ได้คิดเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ และประเมินศักยภาพแต่ละด้านออกมา ด้วยวิธีการประเมินความสมดุลของพลังในการต่อรองทางธุรกิจในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งแต่ละธุรกิจจะมีหลายปัจจัยและหลายรูปแบบที่จะทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำกำไรขององค์กร หากเป็นองค์กรทางภาคอุตสาห์กรรมจะได้รับผลกระทบมาก ในแต่ละธุรกิจจะมีการแข่งขัน สิ่งที่บริษัทจะต้องรู้ในเรื่องของการแข่งขันคือ
1.ใครคือคู่แข่งขันทางตรงของตนเอง ต้องแสวงหาข้อมูลของคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดี่ยวกันหรือใกล้เคียง
2.คู่แข่งขันมีกลยุทธ์อะไร มีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร เนื่องจากการแข่งขันจะอยู่ภายใต้ระบบ Competitive Intelligent System คือต้องรู้ความลับของคู่แข่งและต้องสร้างกลยุทธ์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการแข่งขันจะทำให้ไม่ต้องสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาด
3.กำหนดตำแหน่งของตนเองให้ได้ คือต้องรู้ว่าตนเองเป็นใครในตลาด เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม หรือเป็นเจ้าของตลาดที่เป็นเอกลักษณ์ตัวเอง
การวิเคราะห์การแข่งขัน เป็นการวิเคราะห์ว่าธุรกิจใดที่ควรลงทุน หรือไม่ จะมีการพิจารณาถึงพลัง 5 ตัว (Five Force) คือ
1.ผู้จะเข้ามาเล่นใหม่ Potential Entrant
2.คู่แข่งขันเดิมที่มีอยู่ Industry Competitive
3.ซัพพลายเออร์และพลังของซัพพลายเออร์
4.สินค้าทดแทน Substitution
5.ลูกค้าและพลังของลูกค้า Buyer Power



                การวิเคราะห์การแข่งขัน ต้องวิเคราะห์ทั้ง 5 ตัว เนื่องจากเป็นเรื่องที่เป็นโครงสร้างหลักที่จะต้องนำมาพิจารณา ยกตัวอย่างเช่น หาก พลัง (Force) ในแต่ละด้าน อาทิเช่น 1.ผู้จะเข้ามาเล่นใหม่ Potential oEntrant มีความอ่อนแอ ขณะที่เราก็เป็นผู้นำ  2.คู่แข่งขันเดิมที่มีอยู่  Industry Competitive  มีคู่แข่งน้อยราย
3.ซัพพลายเออร์และพลังของซัพพลายเออร์ มีจำนวนคู่ค้าหรือแหล่งวัตถุดิบป้อนมาก ซัพพลายเออร์มีมาก
4.สินค้าทดแทน Substitution สินค้าทดแทนไม่มีหรือเทียบคียงได้5.ลูกค้าและพลังของลูกค้า Buyer Power มีลูกค้าจำนวนมาก ก็จะเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนประกอบกิจการ แต่ในทางกลับกันหาก ด้านที่เป็นคู่แข็งมี ทุกตัวเข้มแข็งหมด คู่แข่งเก่ง ผู้เล่นรายใหม่กำลังจะเข้ามา ลูกค้าน้อย สินค้าทดแทนมีมาก ซัพพลายเออร์มีน้อยรายและมีความเข้มแข็ง ธุรกิจแบบนี้ก็จะไม่น่าลงทุน  ฉะนั้น การเป็นผู้ประกอบการจะต้อง นำหลักการพิจารณา  Five Force ทั้ง 5 ด้าน และขึ้นว่าอยู่กับเราทำธุรกิจอะไร ก็สามารถเอามาวิเคราะห์ได้
                การแบ่งประเภทแข่งขัน แบ่งตามลักษณะหลักได้  2 แนวทาง ( Concept ) ดังนี้
                1.Industry Concept of Competition  (อุตสาหกรรมคือการที่มีผู้ผลิตหลายราย ผลิตสินค้าเหมือนๆกันก็จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน) Concept จะพิจารณาด้าน
1.1 จำนวนผู้ขายและดูว่าผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เช่น รายเดียวผูกขาด (Pure Monopoly) การแข่งขันก็จะน้อย หากสินค้าที่ผู้ขายทั้งหมดรวมกันมีความแตกต่างกันน้อย การแข่งขันจะรุนแรง  เพราะสามารถเลือกซื้อจากผู้ขายได้  ผู้ประกอบการก็มักจะใช้ราคาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน  ถ้าผู้ผลิตมีรายเดียวผูกขาด ผู้ขายน้อยราย สินค้ามีความแตกต่างกันมาก หากมีผู้ขายมากราย ไม่มีใครได้เปรียบใคร ผู้ซื้อและผู้ขายมีข้อมูลสมบูรณ์ จะเป็นการแข่งขันที่สมบูรณ์ (Pure Competitive)
                1.2 การเข้า การออกและการเติบโตในธุรกิจ หมายถึง การแข่งขันที่สมบูรณ์ หากเป็นรายเล็กโอกาจะโตขึ้นจะมีสูง ถ้ารู้สึกแข่งขันไม่ไหวจะออกจากการแข่งขันก็ทำได้ ประเด็นกลับกัน กรณี เป็นการแข่งขันไม่สมบูรณ์รายเล็กจะโตได้ยาก และออกจากแข่งขันไม่ได้ แต่ตัวสามารถเปลี่ยนเจ้าของได้
                1.3 โครงสร้างของต้นทุน ทั้งต้นทุนทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
                1.4 การทำครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือไม่ แต่การทำครบวงจรบางครั้งก็ไม่สำเร็จ
                1.5ขอบเขตการตลาดดูว่าเราจะขายสินค้าในตลาดระดับใด เป็นแค่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก แต่ละระดับมีความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน
                2.Marketing Concept of Competition เป็น Concept ที่เอาลูกค้าเป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์การแข่งขัน การพัฒนาธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่และพัฒนาสินค้าที่เป็นส่วนต่อเนื่องกัน ให้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ในเครือเดียวกัน ยกตัวอย่าง **
                **ดังนั้นธุรกิจฟิล์มกับกล้องดิจิตอลการแข่งขันก็จะต่างกัน ปัจจุบันสตูดิโอถ่ายรูปมีเครื่องมือมากมายที่ทำให้คนสวยขึ้นหล่อขึ้น การแข่งขันจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลง ความรู้เชิงปฏิบัติ (โนฮาว) และความต้องการของลูกค้า **
**ที่มาข้อมูล การบรรยายวิชา รอ. 660 การจัดการการตลาด Marketing Management รศ.ดร.ธำรง ช่อไม้ทอง วันที่ 15 มกราคม 2549**
บทสรุป
จากวิเคราะห์หรือวิธีการแก้ปัญหาสำคัญ คือ วิธีการเลือกกลยุทธ์และใช้กลยุทธ์ที่ดีที่สุด คำนิยามที่แตกต่างกันสำหรับกลยุทธ์ที่นำเสนอโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการดังนี้ (Rezaian,2008)
“ พอร์เตอร์” E.Porter (Porter, 1996) ประกาศว่า "กลยุทธ์คือการสร้างตำแหน่งที่ไม่ซ้ำคนอื่นและมีคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับ ความแตกต่างกันของธุรกิจหรือกิจการที่ดำเนินการ ควรเลือกเพียงหนึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสม ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สำหรับกลยุทธ์อื่น ดังนั้นสาระสำคัญของการวางกลยุทธ์คือการเลือกกิจกรรมที่แตกต่างจากคู่แข่ง โดยหลักทั่วไปของผู้บริหารกลยุทธ์ คือการกำหนดตำแหน่งของ บริษัท ทำให้คู่ค้าไม่มีโอกาสแข่งขันและไม่สามารถเลียนแบบได้ (Porter, 1996): 
Ansoff " Forouzandeh 2005 " ได้ให้ความหมายของกลยุทธ์ หมายถึง "กลยุทธ์คือความเข้าใจที่ครอบคลุมในการรับผิดชอบต่อสิ่งที่สำคัญและการเติบโตของการจัดการโดยองค์กรย้ายตามสภาพแวดล้อมและตรวจสอบสถานที่ในวิธีการที่จะ ให้ความสำเร็จขององค์กร
กลยุทธ์ การเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่และการเล็งเห็นในการปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมการ แข่งขันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร กลยุทธ์เป็นเพียงวางแผนขององค์กรและให้กรอบความคิด สำหรับผู้บริหารตัดสินใจ-(Pearce & Robinson, 2009)
ร็อบบินส์ :Robbins ได้ อธิบายว่า การกำหนดกลยุทธ์เป็นกระบวนการของการกำหนดเป้​​าหมายในระยะยาวโดยอาศัยปัจจัยพื้นฐาน,การใช้การใช้แรงงานและการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ตามที่ร็อบบินส์มีสองทฤษฎีที่พบบ่อยเกี่ยวกับกลยุทธ์ดังนี้
ทฤษฎีที่ 1 : กลยุทธ์การวางแผนและมีการวางแผนรัฐ มัน เป็นแนวทางที่ชัดเจนและพัฒนาสูตรก่อนหน้านี้และผู้จัดการการตรวจสอบที่พวก เขาต้องการจะไปและเข้าถึงไปยังปลายทางที่พวกเขากำหนดแผน principled และองค์กรและหลังจากนั้นให้ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวก เขา
ทฤษฎีที่ 2 : กลยุทธ์การมีสถานะ "evolutional" มัน หมายถึงกลยุทธ์ที่ไม่ได้เป็นพื้นโดยเจตนาและเป็นระบบแผนและเมื่อเวลาผ่านไป มันโผล่ออกมาเป็นรูปแบบในระหว่างการตัดสินใจที่สำคัญ (Robbins, 2008)  เพื่อกำหนดกลยุทธ์สำหรับองค์กรรูปแบบต่างๆและวิธีการให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการ ควรสังเกตว่าการใช้รูปแบบใดขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ถูกต้องขององค์กรนั้นและความต้องการของตน สำหรับสูตรกลยุทธ์ Five Force Model ของ Michale E.Porter (Porter, 1996)   ที่สามารถช่วยให้ บริษัท ที่จะเข้าใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมและการถือหุ้นของ บริษัท ออกเป็นตำแหน่งที่มีกำไรมากขึ้นและไม่เสี่ยงที่จะถูกโจมตี โดยทั่วไปการสร้างพื้นฐานของทุกวิธีการวางแผนเชิงกลยุทธ์คือสภาพแวดล้อมการแข่ง ขันและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อนำมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ ในขณะที่องค์กรสามารถแข่งขันกับคู่แข่ง วิธีการการแข่งขันกลยุทธ์รูปร่าง Five Force Model ของ Michale E.Porter (Porter, 1996)   การทำความเข้าใจในความเป็นจริงของสภาวการณ์การแข่งขันของอุตสาหกรรม เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนากลยุทธ์ทุกบริษัท แล้วควรจะรู้ว่าสิ่งที่ทำกำไรเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่เป็นและวิธีการที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป ในการทำกำไรของอุตสาหกรรม

8/01/2555

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ Step of Strategic planning process


ตอนที่ 2: 31 กรกฎาคม 2555. เวลา 23.30 น.โดย สุทธิกันต์ อุตสาห์
                สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน หลังจากได้ลงบทความไปในตอนที่ 1 ไปแล้วนั้น ยังมีภารกิจหน้าที่ยังต้องทำอีกมากมาย ที่ท่านอาจารย์ ผศ.ดร วิชิต อู่อ้น ท่านได้สั่งงานเอาไว้อีกหลาย เรื่อง เพิ่งจะทำไปได้เพียงเรื่องเดียว ใจจริงของผู้เขียน อยากที่จะจัดลำดับขั้นการคิดให้เป็นไปตามกรอบความคิดตรมลำดับ คือ 12345 เพราะคิดว่าจะเป็นการเรียนรู้และเข้าใจได้อย่างมีระบบ แบบค่อยๆเป็นค่อยไป จะได้เขียนได้อย่างต่อเนื่อง ท่านผู้อ่านเองก้อจะได้เข้าใจตามไปพร้อมกัน หากแนวการคิดของท่านกับผู้เขียนไปทางเดียวกัน ก้อลุยกันต่อครับ
ลำดับขั้นและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์  Step of Strategic planning process
หลังจากได้ศึกษา การเริ่มต้นในการวางรากฐานการคิดที่จะดำเนินธุรกิจ มาแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการจัดลำดับขั้นหรือกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้ ธุรกิจสามารถดำเนินการไปถูกทิศทาง และเป็นประโยชน์ขององค์กรนั้น การกำหนด พันธะกิจและวิสัยทัศน์ เป็นธรรมชาติของธุรกิจ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือบริษัท ได้มีแนวทางในการที่จะไปสู่จุดมุ่งหมายและประโยชน์ร่วมกันยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายโรงงานจะต้องมีการออกแบบและพัฒนาสิ่งใหม่หรือปัจจุบันที่เรา เรียกว่า “นวัตกรรม” และทางฝ่ายขาย ต้องมีการนำเสนอความต้องการของลูกค้าหรือข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด หากพิจารณาตามที่ (Hosscini-Nazab:2011) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ความต้องการของกลุ่มลูกค้าจะเป็นตัวกำหนดและสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายและกิจกรรมด้านผู้บริโภค ในพื้นที่นั้นๆ” การที่องค์กรจะแสดงวิสัยทัศน์ออกมาจะต้องจุดยืนและความแน่นอนพร้อมนำเสนอ ทางลักษณะทางกายภาพขององค์กรออกมาด้วย                 
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์หรือกระบวนการวางแผนตามกรอบความคิดของท่าน (Rezaian,2008) สามารถอธิบายตามรูปที่ 2 ดังนี้
FIG.2Step of startegie planning  process

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ คือ การหา วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเพื่อให้ทราบว่าองค์กร มีวิสัยทัศน์ เรื่อง ในอนาคต ว่าได้กำหนดให้องค์กรเป็นอย่างไร  กล่าวคือ อะไรคือเป้าหมายพื้นฐานและอะไรคือเป้าหมายเฉพาะ  และ การกำหนดวัตถุประสงค์จะทำให้เห็นเป้าหมายที่ชัดเจน และตรงจุดเป้าหมายขององค์กร
2.การกำหนดเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะของหน่วยงาน คือ บอกเป้าหมาย ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะของหน่วยงาน ซึ่งเป้าหมายจะต้องมีลักษณะที่สามารถวัดได้เป็นตัวเลขและ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระยะยาวขององค์กร
3.การพัฒนากลยุทธ์เพื่อหาโอกาสและการกำหนดกลยุทธ์เพื่อแก้ปัญหา คือ การค้นหาวิธีการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่วางไว้โดยอาศัยปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนหา จุดอ่อนเพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาที่อาจ และกำหนดจุดแข็งขององค์กรเป็นพื้นฐานหลักในการพัฒนาตัดสินใจ เพื่อเลือกกลยุทธ์ทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อเป็นการวางแผนและปฏิบัติการ
4.การกำหนดแผนงานพร้อมกับเป้าหมายกลยุทธ์ หมายถึง การลำดับขั้นตอนของการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนว่าจะทำอะไรก่อนหลังและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการ ในช่วงเวลาใด จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างและปริมาณเท่าใด การกำหนดแผนปฏิบัติงานจะทำให้สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานได้และให้สามารถนำปัญหาอุปสรรค ที่เกิดมาแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นได้ ให้สำเร็จลุล่วงตามแผนที่กำหนดไว้
5.การตั้งโปรแกรมเกี่ยวกับกลยุทธ์ ได้แก่ กระบวนการในการพิจารณา วิเคราะห์ ตัดสินใจ และคาดเดา เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สังคม การเมือง ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสและข้อจำกัด ซึ่งมีผลกระทบต่อจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์กร เพื่อแสวงหาทิศทาง วิธีการนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
6. การปฏิบัติตามแผนและเลือกกลยุทธ์ คือ การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ก่อให้เกิดประสิทธิผล ตาม แผนที่วางไว้ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร  ที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง ตลอดจนหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงในอนาคต
บทสรุป
กระบวนการวางแผน คือ กระบวนการในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม องค์กรทั้งภายในและภายนอก วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่คาดหวัง เพื่อให้องค์การเป็นและไปให้ถึงในอนาคต วิธีการเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการและการปฏิบัติที่คาดหวัง เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้น หากจะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรที่จะใช้การพิจารณา กระบวนย้อนกลับของข้อมูล มาร่วมด้วย เพื่อแสวงหาวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป    แล้วพบกันใหม่นะครับ ;  สวัสดีครับ
บ๊ะ ดอนเมือง