8/22/2555

ตอนที่ 4 22/08/2555 QSPM : กลยุทธ์การวางแผนงานแบบจับคู่เชิงปริมาณ Quantitative Strategie planning Matrix.s


ตอนที่ 4 22/08/2555 QSPM : กลยุทธ์การวางแผนงานแบบจับคู่เชิงปริมาณ Quantitative  Strategie  planning Matrix.s
สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับตอนที่ ๔ นี้จะเป็นการกล่าวหรือให้ข้อคิดเพื่อนำไปสู่วิธีการนำกลยุทธ์ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ ด้วย SWOT,SPACE,BCG,IE,GRAND ที่เหมาะสมกับกับองค์กรและนำมาประยุทธ์ใช้งานได้อย่างลงตัวแต่การที่จะเพิ่ม จุดแข็งหรือลดจุดอ่อน หาโอกาสขจัดอุปสรรค ต่างๆให้กับองค์กรอย่างไร จะต้องคำนึงถึงวิธีการนำไปจับคู่ กล่าวคือการวางแผนทางกลยุทธ์ไม่ว่าจะมาด้วยวิธีใด ก็ตาม ส่วนใหญ่ จะมีวิธีการลำดับต้นคือการนำเอาปัจจัยที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 2 ปัจจัยคือ  1.ปัจจัยภายนอก 2.ปัจจัยภายใน
จากเหตุทั้งสองปัจจัยดังกล่าว จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการคิดวิเคราะห์ ในลักษณะ แบบ  “ลำดับขั้นแรกสู่ลำดับขั้นนำเข้า” (first stage to entering stage.) สุทธิกันต์:blog 2555” หมายถึงการที่นำ ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ที่ผ่านการวิเคราะห์แบบ SWOT มาแล้วนำมาเพื่อจับตามกลยุทธ์ต่างๆที่เหมาะสมและเป็นกลยุทธ์ที่ผู้สั่งงานเองหรือผู้ปฎิบัติงานภายในองค์กรที่สามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อนำภาพ FIG.5 Quantitative  Strategie  planning Matrix.s  Soure “ David,2003 มาประกอบการปฏิบัติ อธิบาย ได้ดังนี้
Rezaian,:2008 ได้ให้ความหมายของ  5 strategy Implementation หมายถึง การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implementation) หลังจากการกำหนดกลยุทธ์เรียบร้อยแล้วการปฏิบัติตามกลยุทธ์เป็นขั้นตอนต่อมา แต่โดยส่วนใหญ่ของการปฏิบัติตามกลยุทธ์มักทำแบบรายการกำหนดการปฏิบัติ การตามกลยุทธ์ และกลยุทธ์ที่ดีควรมีลักษณะคือ 
1.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อโครงสร้างองค์กรที่ดี 
2.กลยุทธ์ควรมีลักษณะของการประสานขององค์กรในระดับการบริหารระหว่างความเชี่ยวชาญ ทรัพยากร และกำลังการผลิต 
3.กลยุทธ์ควรมีลักษณะที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อกลยุทธ์ใหม่ขององค์กร 
4.กลยุทธ์ควรเป็นไปเพื่อความร่วมมือและความเห็นที่ตรงกันในหมู่ผู้บริหารและพนักงานในทุกภาคส่วนขององค์กร 
ที่มาของข้อมูล  (Rezaian, 2008)
Brock &Barry, 2003 มีความเห็นว่า ความสำเร็จในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ จะขึ้นอยู่กับระบบการวางแผนการสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้จัดการหรือผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการในองค์กรต้องการความแปรผันของจำนวนและประเภทของสารสนเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ เพราะมีพื้นฐานมาจากการวิเคราะห์ โอกาส อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน
บทสรุป
การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือ อย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารตอบคำถามที่สำคัญ เช่น องค์กรมีเป้าหมายและ พันธกิจอย่างไร  การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะช่วยให้องค์กรนั้นกำหนดและพัฒนาข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ ทางการแข่งขัน ในทุกด้านและเป็นแนวทางที่บุคคลภายในองค์กรรู้ว่า ควรจะปฎิบัติตามกลยุทธ์ที่ผู้บริหารวางไว้เพื่อนำไปในทิศทางที่จะประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการวางแผนยุทธศาสตร์  หรือ  การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร  โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ
                    การกำหนดแนวทางที่จะบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องการให้เกิด  จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่รอบด้าน  คือ  จะต้องคำนึงถึงสภาพการณ์ที่ต้องการให้เกิดศักยภาพหรือขีดความสามารถขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง  และสิ่งแวดล้อม
บ๊ะ ดอนเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น