9/27/2555

ตอนที่ 5 :27 กย.55 จุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหาร (Development of Management Thoughts)


ตอนที่ 5 :27 กย.55 จุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหาร (Development  of  Management  Thoughts)
สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับตอนที่ ๕ จะกล่าวเกี่ยวกับทฤษฏี เรื่องของการบริหารนั้นได้มีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจังขึ้นมาก็ต่อเมื่อภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ได้มีการใช้หลักการบริหารอย่างไม่รู้ตัวเป็นเวลากว่า 700 ปีมาแล้ว การศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหารนั้นอาจแยกออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคต้น หรือยุคโบราณ และยุคปัจจุบัน หรือยุคใหม่ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

พัฒนาการแนวความคิดทางการบริหารในยุคต้น

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนหลัง ไปยังสมัยต้นของ อารยธรรม ตะวันตกของพวก Mesopotamia เมื่อในราวปี ค.ศ. 1200 ปรากฏว่าบรรดาหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ ได้ใช้หลักการบริหารในการปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นแบบแผนพอสมควร เช่น มีการแบ่งงานกันทำโดยอำนาจการปกครองออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ และจัดให้มีหัวหน้ากลุ่มบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้การปกครองของตนเพื่อให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากลุ่มใหญ่ ซึ่งเปรียบประดุจผู้บริหารระดับสูงขององค์การนั้นเอง และตามประวัติศาสตร์กรีกและจักรวรรดิ์โรมันก็ปรากฏว่าได้มีการใช้หลักการบริหารในการปกครองนคร ในทางศาล ทางราชการ ทางการทหาร และแม้แต่ในทางศาสนา โดยการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะอย่าง จัดสายการบังคับบัญชาลดหลั่นกันจากเบื้องบนลงไปเบื้องล่าง การรวมอำนาจ การกำหนดระเบียบวินัย เป็นต้น
                ต่อมาในราวกลางศตวรรษที่ 18 ได้เกิดมีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปโดยเริ่มจากอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ค้นพบเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ กิลเบิรท ฮาวีร์  วัตต์และคนอื่น ๆ เทคนิคต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ซึ่งได้มีการคิดประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมือทุ่นแรงงานต่าง ๆ ตลอดจนสื่อในการคมนาคม เช่น  เรือกลไฟ รถไฟ โทรเลข เป็นต้น
                ต่อมาในระยะปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ฝ่ายนายจ้างจึงได้พยายามดึงคนงานให้เข้ามาเป็นพวกของตนโดยหาทางเอาอกเอาใจคนงานมากขึ้น และได้มีผู้บริหารอุตสาหกรรมให้ความสนใจศึกษาหาทางปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ
1.        แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific  management school)
2.        แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (Management  process  school)
3.        แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relation  school)
4.        แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system school)
5.        แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school)
6.        แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school)

เมื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารแล้ว สิ่งต่อไปจะเข้าไป ศึกษาเจ้าของทฤษฎีในแต่ละยุคต่อไปครับ

                                                                                                                                                   บ๊ ะดอนเมือง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น