9/27/2555

ตอนที่ 6 :27 กย.55 แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific management school)


ตอนที่ 6 :27 กย.55 แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific  management school)
                แนวความคิดนี้ได้นำวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ในด้านการจัดการมาจัดองค์การให้ดำเนินไปในทิศทางที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จสูงสุด บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ที่จะกล่าวถึง คือ
Federick  W. Taylor
               
                Federick  Widslow  Taylor            เป็นบิดาของแนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน Taylor เริ่มทำงานที่ Midvale  Steel  Works  in Philadephia ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นนายช่างในปี 1878 และเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าวิศวกรในปี 1884 เมื่ออายุได้ 28 ปี ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่นี่เขาได้พบปัญหาในการปฏิบัติงานของคนงาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวความคิดด้านการจัดการในครั้งแรกไม่ชัดเจนพอในด้านความรับผิดชอบในการจัดการคนงาน มาตรฐานของประสิทธิภาพในงานที่ปฏิบัติอยู่ เครื่องล่อที่กระตุ้นการปฏิบัติงานของคนงาน ตลอดจนการตัดสินใจในด้านการจัดการตั้งอยู่พื้นฐานของลางสังหรณ์ สิ่งบันดาลใจ ประสบการณ์ในอดีต หรือกฎที่ไม่แน่นอน (rule of thumb) คนงานจะได้รับให้ทำงานในสิ่งที่ตนไม่มีความสามารถ ไม่มีความถนัด พบว่ามีการละเลยในด้านการจัดการและแรงงานทำให้ผลผลิตต่ำ Taylor ได้ทำการศึกษาวิธีการเคลื่อนไหวของคนงานและเวลาที่ใช้ปฏิบัติงาน (time and motion study) เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของผลงาน เขาได้ศึกษาวิธีการวางกระดานชันและลาดต่างกัน ขนาดของพลั่วที่ใช้ตัก ลักษณะทางร่างกายของคนงานเพื่อที่จะหาวิธีที่ดีที่สุด (one best way) ที่จะให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผลของการทำงานที่มีหลักเกณฑ์ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ที่เราเรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ ทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ซึ่งเป็นผลดีแก่เจ้าของโรงงานและคนงาน ก็เพราะช่วยให้คนงานได้รับผลตอบแทนสูงสุด และขณะเดียวกันทำให้เงินทุนการทำงานของเจ้าของโรงงานลดต่ำลง
หลักการของการจัดการตามแนวความคิดของ Taylor พอสรุปได้ดังนี้
1.        พัฒนาวิธีการทำงานวิธีที่ดีที่สุด (one  best  way) ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีหลักเกณฑ์แทนการใช้กฎที่ไม่แน่นอน (rule of thumb)
2.        ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์ คัดเลือก ฝึกหัด สอน และพัฒนาคนงานให้มีคุณสมบัติตรงตามงานที่ปฏิบัติเพราะในอดีตคนงานจะทำงานของตนและแสวงหาประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ จนพบวิธีดีที่สุดด้วยตนเอง
3.        มีการร่วมมือกับคนงานอย่างจริงใจ เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่างานทั้งหมดได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้น
4.        มีการแบ่งงานและความรับผิดชอบระหว่างการจัดการและแรงงานหรือกล่าวง่าย ๆ ว่ามีการแบ่งงานและความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายผลิต เพราะในอดีตนั้นงานและความรับผิดชอบส่วนใหญ่จะตกอยู่แก่ฝ่ายผลิต (คนงาน)
Taylor  ได้เสนอผลงานครั้งแรกในปี 1901 ชื่อว่า “A Piece Rate System” ซึ่งอธิบายถึงระบบการจัดการที่
พัฒนาการเกี่ยวกับจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่แตกต่างจากรางวัลที่เคยให้ และได้เสนอผลงานครั้งที่สองในปี 1903 ชื่อว่า “Shop Management” ซึ่งเน้นถึงปรัชญาของการจัดการมากกว่าค่าจ้างของคนงาน นอกจากนั้น Taylor ได้รับโอกาสทอง ในปี 1912 อธิบายปรัชญาของการจัดการต่อคณะกรรมการสภาพผู้แทนราษฎรที่ชื่อว่า House of  Representaives Commitee
สรุปแนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ Taylor ได้ดังนี้
1.        ให้ความสำคัญด้านศาสตร์ไม่ใช่กฎที่ไม่แน่นอน
2.        มีการประสานงานร่วมกันมากกว่าความขัดแย้ง
3.        เน้นผลผลิตสูงสุดแทนที่การจำกัดผลผลิต
4.       จัดให้มีการคัดเลือกการฝึกอบรมและการบรรจุคนงานให้ทำงานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
5.       มีการพัฒนาพนักงานให้มีความสามารถสู่ระดับสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อตัวพนักงานเองและความเจริญรุ่งเรืองขององค์การ

ตอนที่ 5 :27 กย.55 จุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหาร (Development of Management Thoughts)


ตอนที่ 5 :27 กย.55 จุดเริ่มต้นเพื่อพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหาร (Development  of  Management  Thoughts)
สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน สำหรับตอนที่ ๕ จะกล่าวเกี่ยวกับทฤษฏี เรื่องของการบริหารนั้นได้มีผู้ให้ความสนใจอย่างจริงจังขึ้นมาก็ต่อเมื่อภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง ๆ ที่ได้มีการใช้หลักการบริหารอย่างไม่รู้ตัวเป็นเวลากว่า 700 ปีมาแล้ว การศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหารนั้นอาจแยกออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคต้น หรือยุคโบราณ และยุคปัจจุบัน หรือยุคใหม่ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

พัฒนาการแนวความคิดทางการบริหารในยุคต้น

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนหลัง ไปยังสมัยต้นของ อารยธรรม ตะวันตกของพวก Mesopotamia เมื่อในราวปี ค.ศ. 1200 ปรากฏว่าบรรดาหัวหน้ากลุ่มต่าง ๆ ได้ใช้หลักการบริหารในการปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นแบบแผนพอสมควร เช่น มีการแบ่งงานกันทำโดยอำนาจการปกครองออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ และจัดให้มีหัวหน้ากลุ่มบังคับบัญชาผู้อยู่ใต้การปกครองของตนเพื่อให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้ากลุ่มใหญ่ ซึ่งเปรียบประดุจผู้บริหารระดับสูงขององค์การนั้นเอง และตามประวัติศาสตร์กรีกและจักรวรรดิ์โรมันก็ปรากฏว่าได้มีการใช้หลักการบริหารในการปกครองนคร ในทางศาล ทางราชการ ทางการทหาร และแม้แต่ในทางศาสนา โดยการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะอย่าง จัดสายการบังคับบัญชาลดหลั่นกันจากเบื้องบนลงไปเบื้องล่าง การรวมอำนาจ การกำหนดระเบียบวินัย เป็นต้น
                ต่อมาในราวกลางศตวรรษที่ 18 ได้เกิดมีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรปโดยเริ่มจากอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องจากมีผู้ค้นพบเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ของกาลิเลโอ กิลเบิรท ฮาวีร์  วัตต์และคนอื่น ๆ เทคนิคต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ซึ่งได้มีการคิดประดิษฐ์เครื่องจักร เครื่องมือทุ่นแรงงานต่าง ๆ ตลอดจนสื่อในการคมนาคม เช่น  เรือกลไฟ รถไฟ โทรเลข เป็นต้น
                ต่อมาในระยะปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ฝ่ายนายจ้างจึงได้พยายามดึงคนงานให้เข้ามาเป็นพวกของตนโดยหาทางเอาอกเอาใจคนงานมากขึ้น และได้มีผู้บริหารอุตสาหกรรมให้ความสนใจศึกษาหาทางปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ
1.        แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific  management school)
2.        แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (Management  process  school)
3.        แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human  relation  school)
4.        แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social  system school)
5.        แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical  school)
6.        แนวความคิดด้านระบบ (Systems  school)

เมื่อทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารแล้ว สิ่งต่อไปจะเข้าไป ศึกษาเจ้าของทฤษฎีในแต่ละยุคต่อไปครับ

                                                                                                                                                   บ๊ ะดอนเมือง