9/27/2555

ตอนที่ 6 :27 กย.55 แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific management school)


ตอนที่ 6 :27 กย.55 แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Seientific  management school)
                แนวความคิดนี้ได้นำวิธีการที่มีหลักเกณฑ์ในด้านการจัดการมาจัดองค์การให้ดำเนินไปในทิศทางที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จสูงสุด บุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ที่จะกล่าวถึง คือ
Federick  W. Taylor
               
                Federick  Widslow  Taylor            เป็นบิดาของแนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน Taylor เริ่มทำงานที่ Midvale  Steel  Works  in Philadephia ประเทศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นนายช่างในปี 1878 และเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าวิศวกรในปี 1884 เมื่ออายุได้ 28 ปี ขณะที่เขาทำงานอยู่ที่นี่เขาได้พบปัญหาในการปฏิบัติงานของคนงาน ทั้งนี้เนื่องจากแนวความคิดด้านการจัดการในครั้งแรกไม่ชัดเจนพอในด้านความรับผิดชอบในการจัดการคนงาน มาตรฐานของประสิทธิภาพในงานที่ปฏิบัติอยู่ เครื่องล่อที่กระตุ้นการปฏิบัติงานของคนงาน ตลอดจนการตัดสินใจในด้านการจัดการตั้งอยู่พื้นฐานของลางสังหรณ์ สิ่งบันดาลใจ ประสบการณ์ในอดีต หรือกฎที่ไม่แน่นอน (rule of thumb) คนงานจะได้รับให้ทำงานในสิ่งที่ตนไม่มีความสามารถ ไม่มีความถนัด พบว่ามีการละเลยในด้านการจัดการและแรงงานทำให้ผลผลิตต่ำ Taylor ได้ทำการศึกษาวิธีการเคลื่อนไหวของคนงานและเวลาที่ใช้ปฏิบัติงาน (time and motion study) เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของผลงาน เขาได้ศึกษาวิธีการวางกระดานชันและลาดต่างกัน ขนาดของพลั่วที่ใช้ตัก ลักษณะทางร่างกายของคนงานเพื่อที่จะหาวิธีที่ดีที่สุด (one best way) ที่จะให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ผลของการทำงานที่มีหลักเกณฑ์ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ที่เราเรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ ทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า ซึ่งเป็นผลดีแก่เจ้าของโรงงานและคนงาน ก็เพราะช่วยให้คนงานได้รับผลตอบแทนสูงสุด และขณะเดียวกันทำให้เงินทุนการทำงานของเจ้าของโรงงานลดต่ำลง
หลักการของการจัดการตามแนวความคิดของ Taylor พอสรุปได้ดังนี้
1.        พัฒนาวิธีการทำงานวิธีที่ดีที่สุด (one  best  way) ที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างมีหลักเกณฑ์แทนการใช้กฎที่ไม่แน่นอน (rule of thumb)
2.        ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์ คัดเลือก ฝึกหัด สอน และพัฒนาคนงานให้มีคุณสมบัติตรงตามงานที่ปฏิบัติเพราะในอดีตคนงานจะทำงานของตนและแสวงหาประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ จนพบวิธีดีที่สุดด้วยตนเอง
3.        มีการร่วมมือกับคนงานอย่างจริงใจ เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่างานทั้งหมดได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้น
4.        มีการแบ่งงานและความรับผิดชอบระหว่างการจัดการและแรงงานหรือกล่าวง่าย ๆ ว่ามีการแบ่งงานและความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายผลิต เพราะในอดีตนั้นงานและความรับผิดชอบส่วนใหญ่จะตกอยู่แก่ฝ่ายผลิต (คนงาน)
Taylor  ได้เสนอผลงานครั้งแรกในปี 1901 ชื่อว่า “A Piece Rate System” ซึ่งอธิบายถึงระบบการจัดการที่
พัฒนาการเกี่ยวกับจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่แตกต่างจากรางวัลที่เคยให้ และได้เสนอผลงานครั้งที่สองในปี 1903 ชื่อว่า “Shop Management” ซึ่งเน้นถึงปรัชญาของการจัดการมากกว่าค่าจ้างของคนงาน นอกจากนั้น Taylor ได้รับโอกาสทอง ในปี 1912 อธิบายปรัชญาของการจัดการต่อคณะกรรมการสภาพผู้แทนราษฎรที่ชื่อว่า House of  Representaives Commitee
สรุปแนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ Taylor ได้ดังนี้
1.        ให้ความสำคัญด้านศาสตร์ไม่ใช่กฎที่ไม่แน่นอน
2.        มีการประสานงานร่วมกันมากกว่าความขัดแย้ง
3.        เน้นผลผลิตสูงสุดแทนที่การจำกัดผลผลิต
4.       จัดให้มีการคัดเลือกการฝึกอบรมและการบรรจุคนงานให้ทำงานด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
5.       มีการพัฒนาพนักงานให้มีความสามารถสู่ระดับสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อตัวพนักงานเองและความเจริญรุ่งเรืองขององค์การ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น