ตอนที่ 7:1 ตค.55 ทฤษฎี Edward Damming
สวัสดีครับ
ผู้อ่านทุกท่าน ตั้งแต่ตอนที่ 7 เป็นต้นไป ผู้เขียนเอง จะกล่าวเกี่ยวกับทฤษฏี เรื่องของการบริหาร
ไปพร้อมกับยกตัวอย่าง Framework
management tool box เพราะด้วย ผู้เขียนเองเรื่องเรียนการบริหารธุรกิจสาขา
การจัดการเชิงกลยุทธ์ แน่นอนการที่จะทำแยกส่วนไปกับประวัติ
ย่อมจะไม่เป็นสิ่งที่จะใช่กลยุทธ์สักเท่าไร เพื่อให้ท่านผู้อ่านเหล่านั้น ให้ความสนใจอย่างจริงจัง
การศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการแนวความคิดทางการบริหาร ในแต่ยุคสมัยใหม่
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา
W.Edward Damming
เกิดเมื่อ14 ตุลาคม 1900 (พ.ศ. 2443) เป็นชาวอเมริกัน จบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จาก University
of Wyoming ในปี 1921
, ปริญญาโท จาก University of Colorado ,
ในปี 1925 และปริญญาเอก จาก Yale University , ในปี 1928 รวม 2 วิชาด้วยกันคือ คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกส์
เดมมิ่ง
เห็นว่าการจัดการคุณภาพที่ประสบความสำเร็จนั้น
ผู้บริหารระดับสูงต้องมีบทบาทหลายด้าน ประการแรกสุด
ต้องยอมรับและผูกพันตามประเด็นสำคัญ 14 ประเด็นตามที่เดมมิ่งเสนอไว้นั้นก่อน
ต่อมาจึงเริ่มลงมือปฏิบัติโดยใช้ "วงล้อเดมมิ่ง (Deming Wheel)" หรือวงจรของเดมมิ่ง (Deming Cycle)ซึ่งเดมมิ่งเป็นผู้นำความคิดนี้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกัน
แต่เดมมิ่งนำมาจากความคิดของชูเวิทอีกต่อหนึ่งสำหรับวงล้อDeming Cycle หรือ PDCA คือ
วงจรการบริหารงานคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย
**P (Plan) คือ ขั้นตอนการวางแผน เพื่อเลือกปัญหา
ตั้งเป้าหมาย การแก้ปัญหา
และวางแผนแก้ปัญหา
**D
(Do) คือ
ขั้นตอนการดำเนินการปฏิบัติแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่วางไว้
**C (Check) คือ
ขั้นตอนการตรวจสอบ ประเมิน และเปรียบเทียบผล
ข้อดี ของ PDCA
§
การนำวงจร PDCA ไป ใช้
ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน ป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน
ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ
§
การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ
ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม
§
การ ตรวจสอบที่นาไปสู่การแก้ไขปรับปรุง
ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา
ถือเป็นการนาความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์
§
การใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา
ด้วยการตรวจสอบว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้
ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป
การทำตามวงล้อเดมมิงต้องทำซ้ำไปเรื่อย ๆ
เพื่อสรุปเป็นบทเรียนอยู่ตลอด ยิ่งกว่านั้นต้องเข้าใจด้วยว่าการจัดการคุณภาพไม่ใช่สงครามผู้บริหารจะรบชนะด้วยตัวคนเดียว
การจัดการคุณภาพจะประสบความสำเร็จได้ ต้องเป็นการกระทำทั่วทั้งองค์การ
เพราะการจัดการคุณภาพเป็นปรัชญาสำหรับองค์การและคนทุกคนในนั้น
สรุปว่า หลักการจัดการคุณภาพของเดมมิ่ง คือ
การให้องค์การมีเป้าหมายที่แน่นอนในการปรับปรุงคุณภาพและใช้เทคนิคการควบคุมทางสถิติ
โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำและต้องมีการจัดการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างจริงจัง
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองประเด็น 14 ประเด็น ของเดมมิ่งได้กลายเป็นแนวทางที่สำคัญของการปรับปรุงคุณภาพของญี่ปุ่น
เป็นที่ยอมรับกันว่า TOYOTA มีประสิทธิภาพการผลิตสูงโดยบริษัท โต โยต้า มอเตอร์ ประเทศไทจำกัด
ได้มีส่วนร่วมกับบริษัทแม่
ในประเทศญี่ปุ่นออกแบบรถยนต์มีการพัฒนาให้มีสายงานเทคนิคที่รับผิดชอบการออก
แบบรถยนต์ด้วย โดยการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งใน TOYOTA
WAY โดยแนวคิดว่า Kaizen เท่ากับ ContinuousImprovement คือ
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กระบวนการ Plan-Do-Check-Act (PDCA) คือ การดูปัญหา
วางแผนหาวิธีแก้ปัญหา ทดลอง แล้วตรวจสอบว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่
ถ้าเป็นวิธีที่ดีก็นำไปใช้ รถยนต์ที่ผลิตออกมาจะมีการทำ Kaizenกัน ทุกวัน
คือปรับปรุงไปเรื่อย ๆ รายละเอียดชิ้นส่วนจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
ภายหลังจากมีการทดลอง ทดสอบแล้ว พบว่าอะไรที่ทำให้ดีขึ้น
ก็จะนำมาใช้ในการปรับปรุงงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น