ตอนที่
11 : 2 ตค. 55 /21.11 แนวคิดและทฤษฎี
Robert H.Waterman Jr.
Robert H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์ เป็นชาว อเมริกัน จบการศึกษา : ปริญญาตรี geophysics จาก Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA จาก Stanford University
การทำงาน
:
Waterman เป็นที่รู้จักเคียงคู่กันมากับ Tom Peters ที่โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ
In Search of Excellence นอกจากความสามารถทางด้านงานเขียนแล้วยังเป็นนักบริหาร
และนักพูดชั้นเยี่ยม หนังสือที่ท่านแต่งครอบคลุมการบริหารจัดการ และการจูงใจ
ท่านเคยทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company ที่เดียวกับ Tom Peters เป็นเวลา 21 ปี Waterman มีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. และยังทำงานให้กับมูลนิธิอีกหลายแห่ง Waterman ใช้คำว่า
Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้นของท่าน
คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย
ไม่สลับซับซ้อนเหมือนองค์กรแบบ bureaucracy ที่มีโครงสร้างองค์กรหลายชั้นที่เราคุ้นเคยกันในรูปแบบของหน่วยงานราชการในยุคก่อนหน้านี้
(หน่วยงานราชการสมัยนี้ปรับตัวโดยนำระบบเอกชนที่
มีโครงสร้างองค์กรที่เรียบง่ายขึ้นแล้ว )
ท่านให้แนวคิดว่าในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงองค์กรก็ต้องสามารถที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้
สิ่งที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่จะเกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือ
Adhocracy: the Power to Change ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า
25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย
สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
โรเบิร์ต เอช
วอเตอร์แมน จูเนียร(Robert H.Waterman,Jr.) และโธมัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters)
ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977 บริษัทแมคคินซีย์ (Mckinsey)
ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจของสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจกับวิธีการจัดการองค์การธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จโดยเน้นไปที่การศึกษากลยุทธ์และโครงสร้างองค์การ
กับผู้จัดการที่มีชื่อเสียงขององค์การธุรกิจทั่วโลกตลอดจนนักทฤษฎีและนักวิชาการจากสถาบันศึกษาชั้นสูงทั้งในยุโรปและอเมริกาผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง
ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด
7 ปัจจัยได้แก่
- โครงสร้าง(structure)
- กลยุทธ์(strategy)
- บุคลากร(staff)
- สไตล์การจัดการ(style)
- ระบบ(systems)
- ค่านิยมร่วม(shared value)
- ทักษะ(skills)
- โครงสร้าง(structure)
- กลยุทธ์(strategy)
- บุคลากร(staff)
- สไตล์การจัดการ(style)
- ระบบ(systems)
- ค่านิยมร่วม(shared value)
- ทักษะ(skills)
แมคคินซีย์
จึงได้มอบหมายให้โรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์และ โธมัส เจ ปีเตอร์สทำการศึกษาเรื่อง
กรอบ 7
– S อย่างจริงจัง
ได้สรุปผลการศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันของตัวแปรที่ถือว่าเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ
(keys
success factors) หรือที่เรียกว่า McKinsey 7-S Framework
McKinsey
7-S Framework
บริษัทฯ
ในกลุ่มสมบูรณ์ ได้ให้โอกาสกับพนักงานในการพัฒนางาน อาสาสมัครอย่างต่อเนื่องทุกๆ
สองหรือสามเดือน โดยพนักงาน เป็นผู้ค้นหาปัญหาที่อยู่รอบโรงงาน
และมาประชุมเพื่อเลือกสถานที่ ในการทำกิจกรรมอาสา โดยที่บริษัทฯจะสนับสนุนค่ารถ
ค่าอาหารและให้เวลากับ พนักงานไปทำกิจกรรมอาสาเหล่านั้น
เป็นต้นกิจกรรมอาสาสมัครขององค์กรธุรกิจข้างต้น เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้บริหารและพนักงาน
ภายใต้การสนับสนุนขององค์กรธุรกิจ มีงานวิจัยจำนวนมาก
ที่ศึกษาถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเมื่อทำกิจกรรมอาสาสมัคร
พนักงาน นับตั้งแต่สังคมหรือชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น