10/02/2555

ตอนที่ 12 : 2 ตค. 55 แนวคิดทฤษฎีทางการจัดการ Frank Bunker Gilbreth และ Lillian Moller Gilbreth


ตอนที่ 12 : 2 ตค. 55   แนวคิดทฤษฎีทางการจัดการ Frank Bunker Gilbreth และ Lillian Moller Gilbreth

ประวัติความเป็นมา
Frank Gilbreth เกิดในปี เขาเกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1868 เริ่มงานเป็นคนก่ออิฐ และต่อมาได้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ตอนเริ่มงานเป็นคนก่ออิฐนั้น หัวหน้าฝึกงานบอกว่ามีวิธีเรียงอิฐสามแบบ คือสำหรับวันธรรมดา สำหรับเวลารีบๆ ให้งานเสร็จ และวิธีที่ลากให้งานไปช้าที่สุดจะได้หมดไปหนึ่งวัน แต่ Frank กลับคิดว่าควรจะมีวิธีเดียวต่างหาก คือวิธีที่ดีที่สุด ตามโลโก้ The One Best Way ที่กลายเป็นหัวใจของการค้นคว้าของเขาในวันหนึ่งข้างหน้า                  
Frank สังเกตว่าการก่ออิฐนั้นทำได้หลายวิธี และวิธีส่วนใหญ่สร้างความเหน็ดเหนื่อยและเสียเวลาโดยไม่จำเป็น เขาจึงเริ่มศึกษา Motion Science เพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำงานหนึ่งๆ
Frank เชื่อว่าเราควรประหยัดเวลาเพื่อเก็บไว้สำหรับใช้สร้างความสุข ตลอดชีวิต เขาคิดค้นแต่วิธีที่จะทำให้คนทำงานได้อย่างมีความสุขขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่เหนื่อยน้อยลง
ส่วน Lillian Gilbreth เกิดที่โอ๊คแลนด์ แคลิฟอร์เนีย เกิดเมื่อ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1878 ครอบครัวของเธอเป็นเยอรมัน เธอเป็นเด็กขี้อายมาก ขยันเรียนจริงจัง และไม่เคยปล่อยเวลาให้ผ่านไปว่างๆเลย เมื่อเธอจบการศึกษาจากภาคภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย เธอได้รับเลือกให้กล่าวสุนทรพจน์ ชื่อ Life - A Means or an End ถ่ายทอดความเชื่อของเธอว่าเราควรใช้ชีวิตแต่ละวันให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด Gilbreth ได้สร้างสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์เมื่อพบกับวิศวกรในอุตสาหกรรม  ในปี 1908  เธอกล่าวถึงความคิดเห็นของเธอ เพราะเธอเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่เข้าประชุมครั้งนั้นLillian Gilbreth  ขึ้นมาในทางของเธอและระบุว่าสิ่งที่มนุษย์เป็นแน่นอน เป็นสิ่งที่สำคัญในพื้นฐานที่สุดในอุตสาหกรรม และเหมือนกับว่าความต้องการพื้นฐานนี้กลับไม่ได้รับความสนใจ
เธอกล่าวว่าการศึกษาอบรมของวิศวกรไม่ได้มีไว้สำหรับสิ่งมีชีวิต เธอเรียกร้องให้สนใจถึงความจริงที่ว่า จิตวิทยาเข้าสู่การเป็นวิทยาศาสตร์อย่างรวดเร็วและมันแสดงให้เห็นได้ชัดว่าไม่ได้รับการยอมรับจากนักบริหารทางวิศวกรรม การแก้ฟ้องในสิ่งที่เธอไม่ได้ตระเตรียมไว้อย่างชัดเจน  สำหรับผู้เชี่ยวชาญใหม่ ๆ ในการจัดการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะเปิดตามองสิ่งที่สำคัญทางจิตวิทยาได้มีในหลักสูตรวิศวอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการทำงาน
Frank และ Lillian พบกันที่ห้องสมุดของเมืองบอสตัน Frank แต่งงานกับ Lillian หลังจากจีบเธอได้เพียงสิบวันในปี 1904 ทั้งคู่อยากมีครอบครัวใหญ่ และ Frank เชื่อมั่นว่าเขาสามารถเลี้ยงดูลูกๆ ไม่ว่าจะกี่คนก็ได้เป็นอย่างดี และสุดท้ายเขาก็มีลูกกันสิบสองคน ชายหก หญิงหก
เมื่อมีลูกคนที่สาม ทั้งคู่ก็ตกลงใจว่า Lillian จะศึกษาต่อปริญญาเอกด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริมงานด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้น ในสมัยนั้นมีผู้หญิงน้อยคนมากที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย และที่จะได้ศึกษาในระดับสูงเช่นนี้ ก็ยิ่งหายากขึ้นไปอีก
เมื่อ Lillian สำเร็จปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ในปี 1915 ทั้งคู่ร่วมมือกันศึกษาการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาเป็นแบบแผนเช่นนี้ ซึ่งวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ Lillian ในภายหลังได้กลายเป็นหนังสือชื่อ The Psychology of Management พิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารปี ค.ศ. 1912 ภายใต้เงื่อนไขของผู้จัดพิมพ์ที่ผู้เขียนต้องใช้ชื่อ L.M. Gilbreth  โดยไม่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเธอเป็นผู้หญิง แม้แต่ในการเลี้ยงลูก ครอบครัว Gilbreth ก็ใช้หลักการบริหารประสิทธิภาพด้วย บริษัทที่ปรึกษา Gilbreth ได้ถือกำเนิดขึ้นในเวลาต่อมา
Frank เสียชีวิตจากโรคหัวใจในปี 1924, Lillian สานผลงานต่อ Lillian เป็นที่ปรึกษาธุรกิจ เธอได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นสุภาพสตรีคนแรกของการจัดการธุรกิจ (First lady of management) และถือเป็นผู้หญิงแนวหน้าทางด้านวิศวอุตสาหการ ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงที่สุดคนหนึ่ง เธอสอนในคณะบริหาร มหาวิทยาลัย Purdue และยังเลี้ยงเด็กทั้งสิบเอ็ดคนไปด้วย (ลูกแมรี่ เสียชีวิตในปี 1915) Lillian ได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในสิบสองสตรีที่สามารถจะเป็นประธานาธิบดีได้ เธอทำงานยาวนานไม่ได้หยุดเลยจนกระทั่งอายุ 90 ปี Lillian เสียชีวิตในปี 1972 อายุ 93 ปี
ลูกๆ ทั้งสิบเอ็ดคนสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และมีชีวิตที่ดี รูปข้างบนนี้เป็นรูปครอบครัว Gilbreth ตอนไปพักผ่อนที่ Anchor Inn ที่ Nantucket Island ในปี 1923 ก่อนที่ผู้เป็นพ่อจะเสียชีวิตไปเพียงปีเดียว
ทัศนะคติและแนวความคิดเกี่ยวกับองค์กร
แนวคิดและทฤษฎี
Frank Gilbreth เป็นวิศวกร และLillian Gilbreth เป็นนักจิตวิทยา ผู้เสนอการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนที่ ในยุคสมัยที่เครื่องจักรเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงานในองค์กรต่างๆ ทำให้เกิดแนวความคิดเพื่อเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน การเพิ่มผลผลิต การสร้างความพึงพอใจในงาน มุ่งค้นหาวิธีที่จะคัดสรร และคัดเลือกคนที่มีความ สามารถมากที่สุดเข้ามาทำงาน การฝึกอบรมพนักงาน การตรวจสอบการทำงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงการพิจารณาวิธีการ ต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพชีวิตในการทำงานให้ดีขึ้นตลอดจนสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสมกับบรรยากาศเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำงาน  
ด้วยเหตุนี้ Gilbreth จึงสนใจเครื่องยนต์กลไกที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เป้าหมายก็เพื่อกำจัดการทำงานที่ไม่จำเป็น เขาทั้งสองได้ใช้หลัก “Time and motion economy” ในทุก ๆ กิจกรรมจะถูกลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ประสิทธิภาพในการจัดการงานต่าง ๆ หรือ efficiency expert มีระบุในหนังสือที่เป็นที่นิยมและหนังเรื่อง Cheaper by the Dozen
ในขณะที่ Lillian Gilbreth เสนอแนวคิดที่ว่าการมีช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้คนทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงออกแบบตารางการทำงาน โดยมีช่วงพักกลางวัน และช่วงเวลาพักสำหรับคนทำงานและยังมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลง สภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการล้มเลิกการใช้แรงงานเด็กอีกด้วย
การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Time and motion study)
หลักการเคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานของการกำหนดมาตรฐานของงานและการคำนวณค่าแรง Gilbreth นั้นสนใจศึกษาถึงการเคลื่อนไหว/เคลื่อนที่ในการทำงาน ว่ามีความสัมพันธ์กับงานและเครื่องมืออย่างไร และทำการพัฒนาเทคนิควิธีการทำงานให้ดีขึ้น ในการทำงานของ Gilbreth พวกเขาทั้งคู่ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครี่องมือ และเทคนิคการทำงานใหม่ๆ พวกเขาเป็นคนแรกที่ใช้ภาพยนตร์ในการวิเคราะห์การทำงานตามขั้นตอนต่างๆ ของคนงานนอกจากนี้ Gilbreth ยังได้ศึกษาถึงความเมื่อยล้าของการทำงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิต ผลงานงานของทั้งสองนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาศาสตร์ที่เรียกว่า เออกอนอมิกส์ (Ergonomics) Frank B. Gilbreth และ Lillian M. Gilbreth ในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์ต่างยกให้ Frank เป็นผู้บุกเบิกศาสตร์ว่าด้วยเรื่อง การศึกษาการเคลื่อนที่ (Motion Study)” Frank Gilbreth ได้ออกจากมหาวิทยาลัยมาเป็นช่างก่อสร้างในปี ค.ศ.1885 ขณะมีอายุ 17 ปี สิบปีต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้คุมดูแลการก่อสร้างอาคารของบริษัทและเป็นผู้รับเหมา ก่อสร้างเอง ในช่วงที่เป็นอิสระจากงานของ Taylor เขาสนใจเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวในการทำงาน โดยลดจำนวนการเคลื่อนที่ในการเรียงอิฐ เขาสร้างความเป็นไปได้ของการทำงานของผู้เรียงอิฐที่ได้งานเป็นสองเท่าของปกติ
Lillian M. Gilbreth สนใจในลักษณะการทำงานของมนุษย์ ส่วนสามีสนใจในประสิทธิภาพในการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank ได้ประยุกต์ใช้การบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management principles) โดยต้องเข้าใจลักษณะ บุคลิกภาพ และความต้องการของบุคคล งานที่ศึกษาจะเกี่ยวข้องกับเทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน การศึกษาเรื่องความเมื่อยล้าจากการทำงานพวกเขามีแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานว่าคนงานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการผลิตจึงต้องเริ่มต้นศึกษาจากคนงานก่อนแล้วค่อยไปว่าถึงเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือวัสดุ สภาพแวดล้อมขณะทำงานโดยพยายามปรับให้เหมาะสมกับคนงานที่สุด โดยเขาเป็นผู้ที่ได้กลั่นกรองการวิเคราะห์ของ Taylor เกี่ยวกับความเคลื่อนไวในงาน การให้ความช่วยเหลือ และการให้การสนับสนุน ในเรื่องของการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา (Time – and – motion – study)  ขึ้นในปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                                1. เป็นการวิเคราะห์ทุกๆ กิจกรรมของแต่ละบุคคล ที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่มีความสำคัญ
                                2. เป็นการค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นกิจกรรมประกอบแต่ละอย่าง
                                3.มีการปฏิรูปกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพได้ คือ ใช้ต้นทุน และเวลาน้อยที่สุด
จนได้รับการยกย่องให้เป็น ……บิดาแห่งการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา  (Father of time and motion study)
Frank Gilbreth เป็นวิศวกร และLillian Gilbreth เป็นนักจิตวิทยา ผู้เสนอการศึกษาเรื่องเวลาและการเคลื่อนที่ Gilbreth สนใจเครื่องยนต์กลไกที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เป้าหมายก็เพื่อกำจัดการทำงานที่ไม่จำเป็น เริ่มขึ้นเมื่อ Frank อายุ 17 ปี ในวันแรกของการทำงาน เขาได้สังเกตคนงานก่อตึกมีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นในระหว่างทำงาน เขาคิดว่าน่าจะมีวิธีการทำงานที่เร็วและง่ายกว่านี้ ภายใน 1 ปี เขาก็พบวิธีก่อตึกที่เร็วที่สุด เขาได้แนะนำเพื่อร่วมงานให้ทำตามวิธีของเขา ทำให้พวกเขาทำงานได้เร็วขึ้นและไม่เหนื่อย Gilbreth ได้ทำการออกแบบนั่งร้านที่ปรับขึ้นลงได้ เพื่อปรับระดับให้สะดวกและพอดีกับความสูงเพิ่มความสะดวกในการทำงาน ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของมือและแขนเกี่ยวข้องในการเรียงอิฐให้มีประสิทธิภาพที่สุด
เขาพบว่าผู้ทำงานสามารถเรียงอิฐได้ 350 ก้อนต่อ 1 ชั่วโมงจากเดิมเรียงได้เพียง 120 ก้อน การทำงานของเขาไม่ใช้มุ่งที่การเรียงอิฐให้ได้เพิ่มขึ้นแต่เพื่อลดขั้นตอน ในการเรียงอิฐ จาก 18 เป็น 4.5 ขั้นตอน เขาทั้งสองได้ใช้หลัก “Time and motion economy” ในทุกๆกิจกรรมของเขาจะถูกลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง Time and motion engineers ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ประสิทธิภาพในการจัดการงานต่างๆหรือefficiency expert มีการประยุกต์ใช้เทคนิคของ Gilbreth ในหลาย ๆ งาน เป้าหมายก็เพื่อต้องการลดการเคลื่อนไหวในการทำงาน เหมือนกับการทำงานในห้องผ่าตัดของนางพยาบาล ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเครื่องมือให้แพทย์หากแพทย์หยิบเครื่องมือเองจะต้องเสียเวลา ทำให้การผ่าตัดไม่มีประสิทธิภาพ
                                เหตุผลสำคัญที่สุดของการวิเคราะห์เวลาและการเคลื่อนไหวทั้งงานที่ทำเป็นประจำและงานที่ทำซ้ำๆตัวอย่างการศึกษาการเคลื่อนไหวของคนงานที่ได้จากบันทึกในวีดีโอเทปและการวิเคราะห์ดูการเปลี่ยนแปลงหรือกำจัดการเคลื่อนไหวที่ไม่มีประสิทธิภาพและเปล่าประโยชน์ (ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการประยุกต์ใช้ในการเล่นกีฬาของนักจิตวิทยา และครูฝึกสอนที่วิเคราะห์ความสามารถของนักกีฬา)
จากงานวิจัยของหลายๆปีนักจิตวิทยาได้พัฒนาข้อแนะนำในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
                                1. ลดระยะทาง (ระยะเอื้อม)
                                2. มือทั้งสองจะต้องเริ่มต้นและจบการเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน
                                3. มือไม่เคยหยุดทำงานเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาต
                                4. มือไม่ต้องทำหน้าที่แทนส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
                                5. อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทำงานต้องมีที่แขวนหรือที่เก็บ ไม่ควรถือไว้
                                6. เก้าอี้และโต๊ะทำงานควรมีความสูงที่เพียงพอเพื่อให้การทำงานสะดวก
การวิเคราะห์เวลาและการเคลื่อนไหวได้นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขั้นตอนการประชุมในงาน เมื่อผู้ทำงาน อุปกรณ์ และหน้าที่ ที่พัวพันกันอยู่และความสัมพันธ์ระหว่างคนและเครื่องจักรควรจะพิจารณามากในสมัยใหม่ให้เข้าถึงความต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนและเครื่องจักร
                                Gilbreth ถ่ายทำภาพยนตร์ เกี่ยวกับคนงานที่ปฏิบัติงานที่มีลักษณะพิเศษ และได้แบ่งแยกการปฏิบัติงาน (Task action) กรอบ (Frame by frame) กริยาท่าทางที่เป็นส่วนประกอบของการเคลื่อนไหว (Component movements) ซึ่งเป้าหมายก็คือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงที่สุด และเป็นการปฏิบัติงานข้ามสายงานเพื่อเป็นการลดเวลา และความพยายาม
ที่เขาใช้ในการปรับปรุงหลักในการบริหารจัดการ ก็สามารถมองเห็นได้ โดยปรากฏอยู่ในภาพยนตร์
เหมาโหลถูกกว่า (Cheaper by the Dozen)
                                ซึ่งเป็นการอธิบายว่า Gilbreth ทำอย่างไรกับลูกของเขาที่เป็นเด็ก จำนวน 12 คน ในการพยายามที่จะให้ลูกได้อยู่ร่วมกัน โดยใช้หลักความมีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้ในแต่ละบทบาท เช่น การแต่งหน้า การทำอาหาร และการเพาะปลูกภายในครอบครัว เป็นต้น
การศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา (Time – and – motion study) หรือเรียกว่า การศึกษาการทำงาน (Work study) เป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของพนักงานรอบๆ บริเวณที่ปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานกับเครื่องมือเครื่องใช้ หรือความสัมพันธ์กันระหว่างพนักงานกับพนักงานในการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม การพิจารณาการเคลื่อนที่ของพนักงาน และวัสดุโดยกว้างๆ จะเกี่ยวข้องกับการพยายามที่จะใช้ลักษณะงาน และเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำจัดเวลาว่างของงานออกไปให้มากที่สุด ขจัดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น หรือที่ใช้เวลามากออกไป และพิจารณาความเหนื่อยล้าของพนักงานเป็นหลัก
ดังนั้น การศึกษาการเคลื่อนไหว และเวลา จึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิธีทำงานให้ง่ายขึ้น โดยจะเป็นเครื่องมือที่ช่วย ลดความสูญเปล่า ทั้งด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงาน รวมทั้งทำให้ผลผลิตในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย
การทำงานของคนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมงาน
2. การปฏิบัติงานเป็นขั้นลงมือทำงานจริง เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมาย
3. การเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อทำงานแล้ว
นับเวลาย้อนหลังไปหนึ่งร้อยปีเศษในช่วงเวลาที่โลกอยู่ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ๆ การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งคนงานต้องทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลยังมีปัญหาต่าง ๆ ต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่มากมาย Frank กับ Lillian Gilbreth และ Frederic Taylor รวมทั้งผู้ร่วมงานนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการริเริ่มคิดค้นและพัฒนาเทคนิคการปรับปรุงงานให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยผลงานอัน   ยอดเยี่ยม จึงส่งผลให้ Gilbreth ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการศึกษาการทำงาน ในขณะที่ Taylor ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้บุกเบิกเรื่องการศึกษาเวลาทำงานและเป็นบิดาแห่งการจัดการด้วยหลักวิทยาศาสตร์อีกด้วย 
Motion Study กับ Time Study แม้จะเป็นคนละเรื่องกัน และเน้นผลลัพธ์คนละอย่าง แต่เทคนิคทั้งสองก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือต้องการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
กล่าวคือ Motion Study เน้นการปรับปรุงงานเพื่อให้คนงานสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงแก้ไขวิธีการเคลื่อนไหวของคนงานและปรับปรุงแก้ไขทรัพยากรอื่นตลอดจนปรับสภาพแวดล้อมการทำงานต่าง ๆ ให้เหมาะสม
ส่วน Time Study เน้นการศึกษาเวลาทำงานสำหรับใช้เป็นเวลามาตรฐานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับนายจ้างและคนงาน และใช้สำหรับการ  จูงใจให้คนงานทำงาน               
หากนำทฤษฎีของ Gilbreth มาใช้ในองค์การ หรือหน่วยงานในประเทศไทยนั้น ได้มีผู้ทำการศึกษา ทดลอง และนำมาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน ผลที่ได้คือ ความมีประสิทธิภาพเท่ากัน หรือมากกว่าที่ใช้วิธีแบบเก่า และไม่สิ้นเปลืองเวลาในการทำงาน โดยประยุกต์ใช้จากการศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลาในทฤษฎีที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น
สรุป
ผู้สนับสนุนแนวความคิดของ Taylor โดยทำการศึกษาความเคลื่อนไหว ความเบื่อหน่าย และผลกระทบของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่มีต่อคนงาน ลิเลียนได้เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกขึ้นชื่อ The Phylosophy of Management ในปี ค.ศ. 1914 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจในสัพันธภาพระหว่างการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์กับ บุคคลในวงการอุตสาหกรรม โดยเธอให้ความเห็นว่าการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมาย ที่จะช่วยให้คนงานประสบความสำเร็ได้ตามขีดความสามารถของตน

สามี ภรรยาคู่นี้ ได้ทำการศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการเคลื่อนไหวของร่างกายของ คนงานในการทำงาน (Motion study) เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่าและไม่มีผลทางการผลิต และความเคลื่อนไหวที่จำเป็นในการทำงาน ทั้งนี้โดยเรียกความเคลื่อนไหวพื้นฐานว่า Therblig
แนวความคิดของ Therblig มีดังนี้
1. มีความเชื่อว่าการทำงานจะต้องพบทางที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ( The Best Way) เป็นประสบการณ์ที่ได้จากการ
เรียงก้อนอิฐ นับว่าจีเบทเป็นบุคคลแรกที่ใช้ ผังการดำเนินงาน
2.พยายามขจัดความสิ้นเปลือง
ในการศึกษาเรื่อง Motion Study ของจีเบท ได้ให้ความสนใจในหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ค้นหาวิธีทำงาน และ จำแนกวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด
2. พยายามลดกฏเกณฑ์ในการทำงานให้น้อยลง โดยแต่งหนังสือเรื่อง Fatigue Study ซึ่งศึกษาความอ่อนเพลียในการทำงาน
3. นำเอากฏข้อ 2 มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต และ ลดชั่วโมงการทำงานให้น้อยลง โดยแยกระบบการทำงานออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า Therbligs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น