10/09/2555

ตอนที่ 26 : 9 ตค.55 Framework Management Tool Box ด้าน Organizing : E- learning

ตอนที่ 26 : 9 ตค.55 Framework  Management  Tool  Box ด้าน Organizing : E- learning
หลักการ / แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning สามารถกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก WBI โดยมีจุดเริ่มต้นจากแผนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของชาติ สหรัฐอเมริกา (The National Educational Technology Plan'1996) ของกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนของนักเรียนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาระบบการเรียนรู้จึงมีการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจัง  
คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
E-learning ในประเทศไทย
การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
การนำเสนอในลักษณะ E-learning
เครื่องมือนี้คืออะไร / มีอะไรเป็นองค์ประกอบ
คำว่า E-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะ ที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Damand) เป็นต้น
ประเภทของ e-Learning
e-Learning   แบ่งประเภทได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.               Synotronous   ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน  เป็นเวลาเรียนแบบเรียลไทม์   เน้นผู้สอนเป็น
2.               Asynchronous   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกัน   ไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเน้นการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนจะเรียนอยู่ที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไปยังโฮมเพจเพื่อเรียน    ทำแบบฝึกหัดและสอบ    มีห้องให้สนทนากับเพื่อนร่วมชั้น  มีเว็บบอร์ด และอีเมล์ให้ถามคำถาม
องค์ประกอบของ e-Learning
 ลักษณะสำคัญของ e-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.               Anywhere, Anytime
2.               Multimedia
3.               Non-linear
4.               Immediate Response
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
  e-learning เข้ามามีบทบาทในด้านธุรกิจและการศึกษา โดย   e-learning เกิดจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาผนวกเข้ากับเนื้อหาวิชาในแต่ละสาขา ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ได้เข้าไปศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ข้อดีของเครื่องมือ
-                    เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล
-                    ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน
-                     ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน
-                     ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างเมืองและท้องถิ่น
ข้อเสียของเครื่องมือ
-                    ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
-                     ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง 
-                    ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองไ ด้
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
สำหรับ e-Learning สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
-                    ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low Cost Interactive Online Course)
-                    ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course)
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร / กรณีศึกษา
ตัวอย่างเวบไซต์ E-Learning
• http://www.chulaonline.com
สอนบทเรียนออนไลน์ ครบทั้งภาพและเสียง ผ่านระบบมัลติมีเดีย โดยมีบทเรียนหลากหลายให้เลือก เช่น หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษา, หลักสูตรคอมพิวเตอร์, หลักสูตรเรียนรู้เพื่อการประกอบธุรกิจ ฯลฯ
• http://www.ram.edu/ศูนย์ e-Learning Center มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีหลักสูตรมากมาย รวมทั้งข่าวสารในแวดวง e-Learning ที่น่าสนใจ มีกระดานข่าวให้แลกเปลี่ยนความรู้
หมายเหตุ ข้อมูลนี้เป็นเพียงบางส่วน ผู้ศึกษาควรค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และข้อมูลนี้จัดทำไว้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ขอบขอคุณ คุณเผด็จ เย็นวิชัย ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลเพื่อการศศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น