ตอนที่ 24 : 7 ตค.55 ฉบับรวมพิเศษ บทที่ 3 การตัดสินใจ Decision Making
แนวคิดทางการบริหารการจัดการ
ในกระบวนการบริหารองค์การสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งคือกระบวนการตัดสินใจ
กระบวนการในการตัดสินใจ เป็นกระบวนการเลือกทางเลือกเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจากหลายทางเลือก
( Alternative ) ที่มีอยู่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน การตัดสินใจจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการวางแผน เฉพาะฉะนั้นเมื่อมีการเลือกทางใดทางหนึ่ง ทางเลือกที่ดี ที่เหมาะสมนั้นย่อมเป็นแนวทางนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เช่นการวางแผนของกิจการ ผู้บริหารต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายและความยุ่งยากต่างๆในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่คิดว่าเหมาะสมที่สุด และในขณะเดียวกันการตัดสินใจทางเลือกก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นการตัดสินใจเลือกทางเลือกของมนุษย์เรานั้นจะขึ้นอยู่กับ
ความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และอื่น ๆ
ความหมายของการตัดสินใจ
มีนักวิชาการด้านการบริหาร ได้ให้ความหมายคำว่าการตัดสินใจ
ไว้มากมายหลาย
ความหมาย
เช่น William J. Gore และ J.W. Dyson ว่าการตัดสินใจ
หมายถึง การตัดสินใจเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากทางเลือกซึ่งมีอยู่หลายทางเป็นแนวทางในการปฏิบัติไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
Herbert Simon
การตัดสินใจคือ กระบวนการที่ประกอบด้วยหลัก 3 ประการคือ
1. การหาโอกาสที่จะตัดสินใจ
2. การหาหนทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้
3. และเลือกทางเลือกจากทางเลือกต่าง
ๆ ที่มีอยู่
George R.Terry
ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจคือการตกลงใจคัดเลือกแนวทาง
การดำเนินงานทางหนึ่งจากที่มีให้เลือกหลายแนวทางโดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างเป็นพื้นฐานประกอบการคัดเลือก
จากแนวคิดดักล่าว จะเห็นได้ว่า การตัดสินใจเป็นภาระกิจของนักบริหารที่จะต้องพิจารณาดำเนินการ
เพื่อคัดเลือกแนวทางในการดำเนินงานขององค์การ ภายใต้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์
ในการพิจารณาคัดเลือกนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายองค์การ
แบบของการตัดสินใจ (Types of Decision Making)
นักวิชาการด้านบริหารได้จำแนกแบบของการตัดสินใจออกเป็นหลายแบบ
แต่ในที่นี้ขอนำเสนอเพียง 2 แบบ ดังนี้
1. การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก ประสบการณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ของตนเองเป็นตัวตัดสินใจ โดยมิได้ใช้หลักการและเหตุผล
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แล้วแต่ความรู้สึกของผู้ตัดสินใจ
ที่คิดว่าเหมาะสมเพียงใด
หรือถูกต้องเพียงใด ซึ่งวิธีนี้มักจะมีความแตกต่างกันไปเฉพาะแต่บุคคล
2. การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผล เป็นการตัดสินใจที่ใช้หลักเหตุผล
หรือ
หลักเกณฑ์หรือวิธีการที่แน่นอน
มิใช่เป็นการตัดสินใจโดยความรู้สึกอารมณ์ของแต่ละบุคคล แต่เป็นการตัดสินใจที่มีเหตุมีผลโดยอาจใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ
ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเทคนิคต่าง ๆ ในการตัดสินใจ เช่น การใช้วิธีคำนวณมูลค่าปัจจุบัน หรือระยะคืนทุนของโครงการ ในการตัดสินใจ
เป็นต้น
การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผล ยังสามารถจำแนกได้อีก 2 แบบคือ
2.1การตัดสินใจที่ได้มีการตระเตรียมกันมาก่อนล่วงหน้า (Programmed
Decision Making) มักจะเป็นการตัดสินใจที่ส่วนหนึ่งเป็นการตัดสินใจของตนเอง ตัดสินใจไปตามนิสัย
วัฒนธรรมขององค์การ
ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็น กฎระเบียบ หรือ วิธีการดำเนินงาน
ซึ่งเป็นลักษณะที่เข้าใจง่ายจำเจบ่อยๆ จนกระทั่งเราสามารถคาดเดาได้ถึงความสำเร็จกล่าวคือเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเป็นประจำวันหรือเกิดขึ้นซ้ำซากจนผู้ทำการตัดสินใจ
สามารถกำหนดวิธี และคาดหมายผลของการตัดสินใจได้
2.2 การตัดสินใจที่ไม่ได้มีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้า (Non Programmed
Decision Making) มักจะเป็นการตัดสินใจที่ไม่ปรากฏขึ้นบ่อยนัก ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นการทดสอบความ
สามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารโดยตรง
ว่าผู้บริหารมีการตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ได้มีการตระเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างไร กล่าวคือ การตัดสินใจแบบนี้เป็นการตัดสินใจที่ตรงกันข้ามกับแบบแรกที่กล่าวมา
คือ การตัดสินใจไม่สมารถนำเอาผลของการตัดสินใจในอดีต หรือการตัดสินใจในครั้งก่อนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินใจ
แต่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ความรู้ ความสามารถ ของผู้บริหารแต่ละคนที่จะตัดสินใจ
รูปที่ 3.1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของการตัดสินใจกับระดับของผู้บริหาร
กระบวนการในการตัดสินใจ (Process in Decision Making)
นักวิชาการด้านบริหาร
William Newman และ
Charles E.Summer กล่าวว่า กระบวนการหรือขั้นตอนในการตัดสินใจ
มีอยู่ 4 ขั้นตอนคือ
1. ทำการระบุปัญหา
2. ค้นหาหรือแสวงหาทางเลือกช่วยการแก้ปัญหา
3. วิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ
4. เสนอทางเลือกที่จะนำไปใช้ช่วยการแก้ไขปัญหา
Edwin Flippo ได้นำเสนอขั้นตอนการตัดสินใจไว้
5 ขั้นตอนคือ
1. ระบุและวิเคราะห์ปัญหา
2. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้หลาย ๆ ทางเลือก
3. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ
4. เลือกแนวทางที่ดีที่สุด
5. นำแนวทางที่เลือกไปปฏิบัติ
Terence R Michell ได้กล่าวถึงการบริหารการตัดสินใจไว้ 6 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1. ตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ
2. ระบุปัญหา
3. การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
4. การระบุทางเลือกในการแก้ไข
5. การตัดสินใจทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
6. นำทางเลือกไปปฏิบัติการให้บรรลุ
เทคนิคในการตัดสินใจ (Decision Making Techniques)
ได้กล่าวมาแล้วว่านักบริหารมีหน้าที่ตัดสินใจ การตัดสินใจของนักบริหารจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยข้อมูลและเทคนิคต่าง
ๆ ประกอบเพื่อการตัดสินใจให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
หรือเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งเทคนิคที่ใช้ในการตัดสินใจมีอยู่หลายประการและที่นิยมใช้แพร่หลายมีดังนี้
1. วิธีกำหนดเกณฑ์และถ่วงน้ำหนัก (The weights and criteria) หากผู้บริหารเลือกใช้
วิธีกำหนดเกณฑ์และถ่วงน้ำหนัก
จะต้องกำหนดเกณฑ์(Criteria)ในการพิจารณาพร้อมกับถ่วงน้ำหนักในแต่ละเกณฑ์ด้วย
ตัวอย่างเช่น การพิจารณาพนักงาน 2
คน เพื่อดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายเพียง
ตำแหน่งเดียวโดยนาย
ก. มีคุณสมบัติด้านภาวะผู้นำดี ส่วนนาย ข. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ผู้บริหาระดับสูงจำเป็นต้องเลือกคนใดคนหนึ่ง หากใช้วิธีกำหนดเกณฑ์และถ่วงน้ำหนักต้องดำเนินการดังนี้
1.1 กำหนดทางเลือกแต่ละทาง จากตัวอย่างดังกล่าวคือ นาย ก และนาย
ข
1.2 กำหนดหลักเกณฑ์ที่จะนำมาพิจารณาตัดสินใจคือ ด้านภาวะผู้นำ
และ
ด้านมนุษย์สัมพันธ์
1.3 ถ่วงน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ ให้ความสำคัญของด้านภาวะผู้นำโดยถ่วง
น้ำหนักไว้ที่
.3 สำหรับด้านมนุษย์สัมพันธ์ถ่วงน้ำหนักไว้ที่ .7
1.4 พิจารณาให้คะแนนในแต่ละเกณฑ์ โดย
ด้านภาวะผู้นำ นาย ก
ได้ 10
คะแนน
ด้านภาวะผู้นำ นาย ข ได้ 6 คะแนน
ด้านมนุษย์สัมพันธ์
นาย ก ได้ 7 คะแนน
ด้านมนุษย์สัมพันธ์
นาย ข ได้ 12 คะแนน
1.5 คำนวณผลลัพธ์แต่ละทางเลือก
นาย
ก (.3) (10) + (.7) (7)
= 7.9
นาย
ข (.3) (6) + (.7) (12)
= 10.2
1.6 เลือกทางเลือกที่ได้คะแนนสูงสุด
น้ำหนัก
|
.3
|
.7
|
รวม
|
ทางเลือก
|
ด้านภาวะผู้นำ
|
ด้านมนุษย์สัมพันธ์
|
|
นาย ก
|
10
|
7
|
7.9
|
นาย ข
|
6
|
12
|
10.2
|
2. เทคนิคการตัดสินใจแบบเดลฟี วิธีการนี้เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญสาขา
ต่าง
ๆ ประมาณ 15 – 20 คน มาออกความเห็นในเรื่องนั้น ๆ โดยส่งแบบสอบถามที่เตรียมไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญตอบ
แล้วนำมาสรุป
3. แบบระดมสมอง โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประมาณ 6 – 10 คน ร่วมกันแสวงหาคำตอบ
ในปัญหาเรื่องนั้น
ๆ โดยสร้างบรรยากาศของความร่วมมือที่ดีต่อกัน ไม่มีการวิจารณ์แนวคิด หรือทำลายแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์
กระตุ้นให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์อย่างกว้างขวาง
4. วิธีตัดสินใจแบบต้นไม้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ก่อนที่จะตัดสินใจ เช่นการพยากรณ์สินค้า
2 ชนิด เช่น
สินค้าชนิดที่
1 มีความต้องการสูงสุด 24
ความต้องการต่ำสุด
- 6
สินค้าชนิดที่ 2 มีความต้องการสูงสุด 9 ความต้องการต่ำสุด 4 และมีความน่าจะเป็นที่ความต้องการสูงสุด .7 ความน่าจะเป็นที่ต่ำสุด .3 จะพิจารณาผลลัพธ์ที่สูงกว่า เนื่องจากจะมีแนวโน้มที่ดีกว่า
วิธีการคำนวณ
สินค้าชนิดที่ 1 (.7)(24) +(.3)(-6) =
15
สินค้าชนิดที่ 2 (.7)(9) + (.3)(4)
= 7.5
นักวิชาการด้านการจัดการ ได้ให้เทคนิคเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ดีของนักบริหารต่อ
การตัดสินใจดังนี้คือ เป็นผู้มีสายตากว้างไกล มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ เป็นคนช่างคิด มีจินตนาการ อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง และความเป็นจริงกล้าคิดกล้าตัดสินใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น