10/06/2555

ตอนที่ 20 ฉบับรวมพิเศษ บทที่ 1 เพื่อให้ทุกท่าน ได้นำไปใช้เพื่อการศึกษาโดยการสรุปเนื้อหา


จุดประสงค์  เพื่อให้ทุกท่าน ได้นำไปใช้เพื่อการศึกษาโดยการสรุปเนื้อหา
            ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ เนื่องจากเป็นเอกสาร ที่ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่เรียน ป.โท ซึ่งในวันนี้ได้มีโอกาส นำมาเพื่อให้เพื่อนร่วมห้องอาจจะนำไปใช้ได้บ้าง ต้องขอขอบคุณเจ้าของรายงานฉบับนี้ที่ได้ทำไว้ ลองพิจารณาดูนะครับ แหล่งที่มาผู้เขียนเจ้าไม่ได้จริง ขออภัยอย่างสูง มา ณ ที่นี้
บทที่ 1
ขอบเขต และความหมายของการบริหารการจัดการ
                                        บริบทที่สำคัญประการหนึ่งของนักบริหาร คือการจัดการ หรือการบริหารองค์การ ให้สามารถอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยรวบรวมเอากลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จในเป้าหมาย โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความประหยัด

ความหมายขององค์การ
                                        Chester I. Barnard   กล่าวว่า องค์การคือ ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่าร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีจิตสำนึก
                                                Herbert G. Hicks     กล่าวว่า   องค์การคือ   กระบวนการจัดโครงสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์ ในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
                                        องค์การคือ กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รวมกันขึ้นเพื่อที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยที่บุคคลคนเดียวไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้โดยลำพัง  ซึ่งเราจะพบว่าองค์การจะเกิดขึ้นและมีอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกหนทุกแห่ง และองค์การก็เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและความสำเร็จ
                                        ดังนั้นการจัดการ (Management) หรือการบริหาร (Administration) 2 คำนี้จึงเป็นคำที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยและใช้กันอยู่เสมออย่างกว้างขวาง จึงมีความหมายคล้ายคลึงกันและใช้ทดแทนกันอยู่เสมอ  เพราะฉะนั้นการจัดการ (Management) คือ การจัดการภาระกิจภายในองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามนโยบายแผนงานที่ได้กำหนดไว้หรือการจัดการหมายถึง ภาระกิจของบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือหลายคนที่เข้ามาทำหน้าที่ประสานให้การทำงานของแต่ละบุคคลที่ต่างฝ่ายต่างทำไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้   ส่วนการบริหาร  (Administration)  หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในระดับและแผนงาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับการบริหารในภาครัฐหรือองค์การขนาดใหญ่    จากความเห็นของนักวิชาการต่อคำทั้ง 2  จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้ใช้ว่าจะมีความเหมาะสมไปในทางใด ซึ่งอาจใช้คำทั้ง 2 แทนกันได้    

องค์ประกอบขององค์การ (Elements of Organization )  ที่สำคัญ 5 ประการ

                                        1. คน องค์การจะประกอบด้วยคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่องค์การจะมีคนเป็นจำนวนมากปฏิบัติงานร่วมกัน หรือแบ่งงานกันทำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด โดยที่คนจะปฏิบัติงานร่วมกันได้จำเป็นต้องอาศัย ความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์  เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2

                                        2.  น็นฃ็ฃ็     กากากากกากากากากรำรำรฃ
ทคนิค  การบริหารองค์การต้องอาศัยเทคนิควิทยาการ หรือที่เรียกว่า  เทคโนโลยี
เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือติดสินใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันนี้องค์การไม่สามารถจะบริหารงานได้โดยอาศัยแต่เฉพาะ ประสบการณ์  ความเฉลียวฉลาดของนักบริหารเท่านั้น ในหลายกรณีผู้บริหารต้องอาศัย เทคนิคทางการบริหาร เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือการตัดสินใจ และในขณะเดียวกันก็เป็นการลดความเสี่ยงอีกด้วย
                                        3.  ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ   ในการปฏิบัติงานและการแก้ไขปัญหา การอาศัยเทคนิคทางการบริหาร  ยังไม่เพียงพอสำหรับการบริหารองค์การ นักบริหารยังต้องอาศัยความรู้  ข้อมูล  ข่าวสาร  เพื่อความเข้าใจ เพื่อการวิเคราะห์ ตลอดจนการคาดคะเนแนวโน้มในอนาคตอีกด้วย   ดังนั้นเทคนิคเพื่อการบริหารจึงควบคู่ไปกับ ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
                                        4.  โครงสร้าง  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไม่น้อยขององค์การ  ซึ่งนักบริหารจะต้องจัดโครงสร้างให้สอดคล้องกับงาน เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่เหมาะสม  เพื่อให้งานขององค์การบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์   มนุษย์จัดตั้งองค์การขึ้นมาก็เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือ
วัตถุประสงค์ที่มนุษย์ต้อง ดังนั้น องค์การจึงต้องมีเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน


รูปที่ 1    องค์ประกอบขององค์การ
  ความหมายของการบริหารการจัดการ
                                        มีนักวิชาการได้ให้ความหมายกันไว้มากมาย ตามแนวทางที่แต่ละท่านได้ศึกษามา เช่น
                        Mary Parker Follett   การบริหารการจัดการเป็นเทคนิคการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น
                        George R.Terry   การบริหารการจัดการ   เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดองค์การ การกระตุ้นและการควบคุมให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน โดยใช้ทรัพยากรบุคคลและอื่น ๆ                        
                        James A.F.Stoner  การจัดการคือ กระบวนการ  (Process)  ของการวางแผน (Planning)  การจัดองค์การ (Organization) การสั่งการ (Leading) และการควบคุม (Controlling) ความพยายามของสมาชิกในองค์การและการใช้ทรัพย์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การกำหนดไว้  
รูปที่ 1.2  ความหมายของการจัดการ
หน้าที่ในการจัดการ (The Function of Management)
                                        นักวิชาและนักบริหารได้มีการวิเคราะห์ว่า  การจัดการเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงได้จัดการศึกษาหน้าที่ของการจัดการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้คือ
1.  การวางแผน (Planning)
2.  การจัดองค์การ (Organization)
3.  การจัดหาคนเข้าทำงาน (Staffing)
4. ภาวะผู้นำ (Leading)
5. การควบคุม (Controlling)

รูปที่ 1.3  หน้าที่ของการจัดการ

                                        
 สำหรับ  Luther Gulick และ Lymdall Urwick     ได้กำหนดหน้าที่ของผู้บริหาร
ในการจัดการไว้ 7 ประการด้วยกันคือ
                        P                      =   Planning                 การวางแผน
                        O                     =   Organizing            การจัดองค์การ
                        S              =    Staffing                      การจัดการคนเข้าทำงาน
                        D              =    Directing                    การอำนวยการ
                        CO           =   Co-ordinating              การประสานงาน
                        R              =   Reporting                    การรายงาน
                        B                   =   Budgeting                   งบประมาณ
                                                                                               

5

หน้าที่ของการจัดการและทักษะในแต่ละระดับขององค์การ
                                        ผู้บริหารคือ บุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเพื่อให้ดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                                        ผู้บริหารขององค์การจะสามารถจัดการตามกระบวนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่ความสามารถทางการจัดการ 3 ชนิดคือ
                                        1.  ความสามารถด้านความคิด (Conceptual Skill) เป็นความสามารถในการมองภาพรวมทั่วทั้งองค์การ และความสามารถที่จะรวบรวมเอากิจกรรมและสถานะการณ์ต่าง ๆ  ตลอดจนเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในองค์การ                                       
                                        2.  ความสามารถด้านคน (Human Skill)  ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม การสร้างบรรยากาศในการทำงาน และการยอมรับความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
                                        3.  ความสามารถด้านงาน (เทคนิค) (Technical Skill) มีความรู้ ความชำนาญ กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงาน และความสามารถในการประยุกต์ให้งานประสบ
ความสำเร็จได้ดี


ระดับของผู้บริหารแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยคือ
                                        1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ โดยกำหนดนโยบายต่าง ๆ  ขององค์การ  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง  ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
                                                2. ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager )   ทำหน้าที่ควบคุมประสานงานกับผู้บริหารระดับต้นให้ดำเนินงานตามนโยบายและแผนงานที่ได้กำหนดไว้ และนำผลสำเร็จรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง
3. ผู้บริหารระดับต้น  ( First – Line Manager ) เป็นผู้บริหารที่ใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติการ
และมีโอกาสรับรู้ปัญหาที่จริง                        
รูปที่ 1.4  ความสามารถทางการบริหารตามระดับการบริหาร

ทรัพยากรในการบริหารการจัดการ
                                        ทรัพยากรหรือปัจจัยที่นักบริหารต้องให้ความสนใจ เพื่อให้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์การประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้คือ
                                        คน  (Man)  คือทรัพยากรบุคคลที่เป็นหัวใจขององค์การ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการจัดการ
                                        เงิน  (Money)  คือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การดำเนินการต่อไปได้
                                        วัสดุ (Materials) คือวัตถุดิบซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น จำเป็นต้องมีคุณภาพและมีต้นทุนที่ต่ำ เพราะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
                                        เครื่องจักร (Machine)  เครื่องจักรอุปกรณ์ ที่มีศักยภาพที่ดีจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิตเช่นกัน
                                วิธีการบริหารหรือวิธีการปฏิบัติ (Managementor Method )การจัดการหรือการบริหารในองค์กรธุรกิจประกอบด้วยระบบการผลิตหรือระบบการให้บริการต่างๆ หากมีระบบที่ชัดเจนตลอดจนมีระเบียบขั้นตอนวิธีการต่างๆในการทำงาน ย่อมส่งผลให้องค์การประสบความสำเร็จได้ดี            
                                                     ****************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น