10/07/2555

ตอนที่ 23 : 7 ตค.55 ฉบับรวมพิเศษ


ตอนที่ 23 : 7 ตค.55 ฉบับรวมพิเศษ บทที่ 2  แนวคิด และทฤษฎีการบริหารการจัดการ
แนวคิดทางการบริหารการจัดการ
                                        ในอดีตที่ผ่านมาระบบการจัดการของการผลิต และกิจกรรมต่าง ๆ ก็ดี ทางเศรษฐกิจ ทางการตลาด มิได้มีความสลับซับซ้อนมากนัก และไม่ต้องอาศัยระบบของการจัดการเช่นในปัจจุบันนี้  กระทั่งเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในโลก (ประมาณ ปี ค.ศ 1880 เป็นต้นมา) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก อันมีผลทำให้เศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก  ตลอดจนมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเริ่มเป็นที่ยอมรับและขยายตัวมากขึ้น มีการพัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ
                                สำหรับแนวคิดทางการบริหารการจัดการได้วิวัฒนาการเรื่อยมาเป็นลำดับ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 แนวดคือ
1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ใน
ยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอำนาจหรือการบังคับให้คนงานทำงาน ซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้ การลงโทษ การใช้แส้  การทำงานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทำงานเพราะกลัวการลงโทษ
2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management )   แนวคิดนี้เริ่มใน
ช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือประมาณปี ค.ศ 188  เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทำให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งบุคคลที่มีชื่อเสียงในการบริหารในยุคนี้มี 2 ท่าน คือ Frederich W. Taylor และ Henri J. Fayol
                                Frederich W.Taylor  ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์
หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดย Taylor  ได้เข้าทำงานครั้งแรกในโรงงานที่เพนซิลวาเนีย เมื่อปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำมาก การบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตัดสินใจขาดหลักการและเหตุผล
                                Taylor ได้คัดค้านการบริหารงานแบบเก่าที่ใช้อำนาจ (Power)   ว่าเป็นการบริหารที่ใช้ไม่ได้และมีความเชื่อว่า การบริหารที่ดีต้องมีหลักเกณฑ์ การทำงานไม่ได้เป็นไปตามยะถากรรม Taylor จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์เวลาการเคลื่อนไหวในขณะทำงาน ( Time and Motion ) เพื่อดูการทำงานและการเคลื่อนไหวของคนงานในขณะทำงาน โดยได้คิดค้นและกำหนด วิธีการทำงานที่ดีที่สุด (One Best Way) สำหรับงานแต่ละอย่างที่ได้มอบหมายให้คนงานทำ   ดังนั้น ผู้บริหารการจัดการ จึงต้องเน้นและปฏิบัติดังนี้
1.กำหนดวิธีการทำงานด้วยหลักเกณฑ์ที่ได้มีการทดลองแล้วว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด
2. การคัดเลือกบุคลากรและการบริหารบุคลากร ต้องทำอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้
บุคลากรที่เหมาะสม
3. ต้องมีการประสานร่วมมือระหว่างผู้บริหารกับคนงาน
4. ผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ในด้านการวางแผน และมีการมอบหมายงาน
ตามความถนัดด้วย
                                สำหรับการศึกษาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ลักษณะคือ
                                            1. มีแนวคิดที่ชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคิดต้องชัดเจนแน่นอนในสิ่งที่จะวิเคราะห์ 
2. วิธีทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์
หรือสังเกตได้ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทำการทดสอบความถูกต้อง       ถ้าเป็นจริงก็คือหลักเกณฑ์
(Principles)
3.ทฤษฎี ( Theory ) หมายถึง การจัดระบบความคิดและหลักเกณฑ์มารวมกันเพื่อได้   ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง



รูปที่ 2.1 แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์

Henri J. Fayol  เป็นวิศวกรเหมืองแร่ชาวฝรั่งเศส  ได้สร้างผลงานทางแนวความคิด
เกี่ยวกับการบริหาร ซึ่งมุ่งที่ผู้บริหารระดับสูง โดยศึกษากฎเกณฑ์ที่เป็นสากลและได้เขียนหนังสือ  Industrial General Management โดย Henri J. Fayol ได้เสนอแนวคิดและกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารของผู้บริหารดังนี้   
1. หน้าที่ของนักบริหาร (Management Functions) มีดังนี้
                                                1.1 การวางแผน (Planning) หมายถึงการที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมการวางแผนการทำงานขององค์การไว้ล่วงหน้า                               
1.2 การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึงการที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมจัด
โครงสร้างขององค์การให้เหมาะสมกับทรัพยากรทางการบริหาร
1.3 การสั่งการ (Directing) หมายถึงการที่ผู้บริหารจะต้องมีการวินิจฉัยสั่ง
การที่ดี เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การดำเนินการไปตามเป้าหมาย
                                                1.4 การประสานงาน (Co-ordinating) หมายถึงการที่มีผู้บริหารมีหน้าที่เชื่อมโยงต่าง ๆ ขององค์การให้ดำเนินไปอย่างสอดคล้องต้องกัน
                                                1.5 การควบคุม (Controlling) หมายถึงการที่ผู้บริหารคอยควบคุมและกำกับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์การให้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้
2. หลักการบริหาร (Management Principle)  Fayol ได้วางหลักพื้นฐานทางการ
บริหารไว้ 14 ประการ ดังนี้
                                                2.1 การแบ่งงานกันทำ (Division of work) การแบ่งงานกันทำจะทำให้คนเกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง (Specialization) อันเป็นหลักการใช้ประโยชน์ของคนและกลุ่มคน ให้ทำงานเกิดประโยชน์สูงสุด
                                                2.2 อำนาจหน้าที่ (Authority) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ผู้บริหารมีสิทธิที่จะสั่งให้ผู้อื่นปฏิบัติงานที่ต้องการได้โดยจะมีความรับผิดชอบ (Responsibility) เกิดขึ้นตามมาด้วย  ซึ่งจะมีความสมดุลย์ซึ่งกันและกัน
                                                2.3 ความมีระเบียบวินัย (Discipline) บุคคลในองค์การจะต้องเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  กติกาและข้อบังคับต่าง ๆ ที่องค์การกำหนดไว้    ความมีระเบียบวินัยจะมาจากความเป็นผู้นำที่ดี
                                                2.4  เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command) ในการทำงานใต้บังคับบัญชาควรได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะเกิดการโต้แย้งสับสน
                                                2.5 เอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction) ควรอยู่ภายใต้การจัดการหรือการสั่งการโดยผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งคนใด
2.6 ผลประโยชน์ขององค์การมาก่อนผลประโยชน์ส่วนบุคคล
(Subordinatation of individual interest to the general interest)  คำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์การเป็นอันดับแรก
2.7 ผลตอบแทนที่ได้รับ (Remuneration of Personnel)ต้องยุติธรรม และเกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย
2.8 การรวมอำนาจ (Centralization) ควรรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางเพื่อให้สามารถควบคุมได้
2.9 สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)การติดต่อสื่อสารควรเป็นไปตามสายงาน
2.10 ความมีระเบียบเรียบร้อย (Order)  ผู้บริหารต้องกำหนดลักษณะและขอบเขตของงาน เพื่อประสิทธิภาพในการจัดระเบียบการทำงาน                 
2.11 ความเสมอภาค (Equity) ยุติธรรม และความเป็นกันเอง เพื่อให้เกิด
ความจงรักภักดี
                                                2.12 ความมั่นคงในการทำงาน(Stability of Tenture of Personnel) การหมุนเวียนคนงาน ตลอดจนการเรียนรู้ และความมั่นคงในการจ้างงาน
2.13 ความคิดริเริ่ม(Initiative) เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ให้
แสดงออกถึงความคิดริเริ่ม
                                               2.14 ความสามัคคี (Esprit de Corps)   หลีกเลี่ยงการแบ่งพรรคแบ่งพวก ในองค์การ
                            3.  แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )
                               แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทำงาน และมองข้ามความสำคัญของคน  เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกำหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งยุคมนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 1950  เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก  ดังนั้นแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวความสัมพันธ์ 
ระหว่างบุคคล ( Interpersonal Relations )  จึงทำให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )  กลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้น
                                            นักวิชาการสำคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดนี้คือ   Greorge Elton Mayo ได้ทำการทดลองวิจัยที่เรียกว่า   “ Hawthorne Experiment “  เมื่อปี ค.ศ  1924 1927  ณ Western Electric Company ในเมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งจุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของ
คนในหน้าที่งานที่จัดไว้ให้  ปรากฏว่าคนทำงานมิใช่ทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทำงานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่ม ที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน
                                การศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies)           ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทำงาน  เพื่อสังเกตประสิทธิของการทำงานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร                             2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies )  การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหา
ความเปลี่ยนแปลงในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการทำงานและการบังคับบัญชา    
3.การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies )  เป็นการสังเกตการทำงานของ
คนและปัจจัยอื่นๆจากการทดลองนี้ได้ประโยชน์หลายประการคือ
     3.1คนมิใช่วัตถุสิ่งของ คนมีชีวิตจิตใจ จะซื้อด้วยเงินอย่างเดียวมิได้
     3.2 การแบ่งงานกันทำตามลักษณะเฉพาะตัว มิใช่มีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ
     3.3 เจ้าหน้าที่ระดับสูง     การจูงใจด้วยจิตใจมีความสำคัญ และมีความหมาย
มากกว่าการจูงใจด้วยเงินตรา
      3.4 ประสิทธิภาพการทำงานหาได้ขึ้นอยู่กับ  สภาพแวดล้อมเพียงอย่างเดียวไม่
 ยังขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย
                               จากการศึกษาแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์  ทำให้ได้มีการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ทางการจัดการมากขึ้น โดยนำเอาหลักการจัดการมาผสมผสานกับพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ ทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น นักวิชาการ Abram Maslow ได้ศึกษาการแสวงหาความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์เราแสวงหาอะไร โดยเขาได้เสนอ ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ( Hierachy  of Need )  ส่วน Frederick Herzberg  ได้ศึกษารูปแบบของการจูงใจโดยได้เสนอ ทฤษฎี Two Factor Theory Of Motivation  เป็นต้น                                                                
4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )
                                แนวคิดในยุคนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ 1950ปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการจัดการสมัยใหม่ก็ยังมิอได้ทิ้งหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดในด้านมนุษย์สัมพันธ์เสียทีเดียว
การจัดการเชิงระบบ ( System Approach )  ความหมายของระบบ (System)   “ a set
of interdependent, interaction element  “   ตัวอย่างเช่น  คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย อวัยวะ  ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ  ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย   เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน     ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว จึงจะทำให้องค์การเติบโต  อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย
การจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์ หรือเชิงปริมาณมาช่วยในการตัดสินใจ
 ( Quantitative or Decision Making Approach )  การศึกษาในแนวนี้จะใช้  เครื่องมือสมัยใหม่มาช่วยในการตัดสินใจ เช่นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิจัย การใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทำให้ต้องมีหลักการและเหตุผลมีหลักมีเกณฑ์ และเป็นการบริหารการจัดการที่สามารถลดความเสี่ยงขององค์การได้ในระดับหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น