10/02/2555

ตอนที่ 13 : 2 ตค. 55 แนวคิดทฤษฎีทางการจัดการ Henry L. Gantt


ตอนที่ 13 : 2 ตค. 55 แนวคิดทฤษฎีทางการจัดการ  Henry L. Gantt
Henry L. Gantt
หลักการ แนวคิด / ประวัติความเป็นมา
นักทฤษฎี เฮนรี่  แอล  แกนต์  (
Henry L. Gantt ) ชื่อเต็มของท่านคือ Henry Laurence Gantt เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) ใน รัฐแมรี่แลนด์ (Maryland)  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้ประดิษฐ์แผนภูมิ (Gantt Chart) ออกมาในปี ค.ศ. 1917 (พ.ศ. 2460)  ขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมแผนงานและโครงการการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ เรียกว่า แผนภูมิแกนต์ ซึ่ง มีลักษณะเป็นแถบหรือเส้น โดยใช้แกนนอนเป็นเส้นมาตราส่วนแสดงเวลา ส่วนแกนตั้งเป็นมาตราส่วนแสดงขั้นตอนของกิจกรรมหรืองาน หรืออัตรากำลังขององค์การ แผนภูมิแกนต์มีประโยชน์ในการควบคุมการผลิตมากแม้การผลิตนั้นจะมีกระบวนการซ้ำ ๆ หรือมีการพัฒนา นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การได้ด้วยจึงเป็นที่นิยมรู้จักกันแพร่หลาย ตัวอย่างแผนภูมิแกนต์ ดังแสดง ในตารางการจัดทำโครงการวิจัยตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท 
* ในตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ จะมีการประชุมในทุกขั้นตอนสำคัญของการดำเนินงาน

เป็นแผนภูมิเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้น ๆ การเขียน Gantt  chart จะต้องกำหนดเวลาของแต่ละโครงงาน ซึ่งจะแสดงภาพรวมของโครงการนั้น ๆ  ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น  บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถทำการตรวจสอบความก้าวหน้าในการวิเคราะห์ระบบได้  อย่างเข้าใจและรวดเร็วมากขึ้น
Gantt chart ที่สร้างในส่วนบนตามแนวนอนของตารางจะแสดงหน่วยของเวลา ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือหน่วยเวลาตามที่นักวิเคราะห์ระบบกำหนด ส่วนด้านข้างตามแนวตั้งของตาราง บรรทัดบนสุดจะเป็นชื่อโครงการ บรรทัดถัดมาจะเป็นรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ หรือขั้นตอนของโครงการซึ่งมักตั้งชื่อง่าย ๆ ที่สามาถเข้าใจได้ว่าโครงการนั้นทำอะไร
ขั้นตอนการทำแผนภูมิ
ขั้นตอนที่ 1 เขียนกิจกรรมที่ต้องทำออกมาทั้งหมด ในตารางแผนงาน ในแต่ละกิจกรรมระบุวัน หรือ เวลา เริ่มต้น ระบุช่วงระระเวลาที่จะแล้วเสร็จ ช่วงเวลาที่ ระบุสำหรับกิจกรรม อาจซ้อนทับกันได้ตามที่น่าจะเป็นในการวางแผน
ขั้นตอนที่ 2 ที่หัวกระดาษด้านบนเขียนสเกลของเวลาที่อาจเป็นวัน หรือ สัปดาห์ หรือ เดือน
ขั้นตอนที่ 3 เขียนรูปกราฟแท่งตามแนวนอนลงบนกระดาษ หรือกระดาษกราฟ หรือไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทExcel แล้วแต่คุณจะต้องการแสดงผลในรูปใด โดยแสดงจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด ความยาวของเส้นกราฟก็เท่ากับความยาวของช่วงเวลาที่วางแผนไว้ กิจกรรมใดเกิดก่อนให้นำมาวางไว้ทางซ้าย ต้อง มั่นใจว่ากิจกรรมที่ต้องทำต่อเนื่องกันกิจกรรมหลังจะต่อท้ายกิจกรรมหน้า
ขั้นตอนที่ 4 ใส่สิ่งที่ต้องทำลงไปเหนือ หรือใต้เส้นกราฟ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น